ท้าวทองกีบม้า บทสุดปังในละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง บุพเพสันนิวาส (พ.ศ. 2561) และ พรหมลิขิต (พ.ศ. 2566) ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มีตัวละครหนึ่ง ชื่อ “แม่มะลิ” หรือ “มารี กีมาร์” รับบทโดย สุษิรา แน่นหนา โดยเธอแสดงได้สมบทบาท จนหลายคนให้ความสนใจกับบทบาทนี้ว่า ท้าวทองกีบม้า คือใคร ประวัติเป็นอย่างไร มีค่า นิวส์ สรุปมาให้ค่ะ
อ่านเพิ่มเติม >> เรื่องย่อ ละคร พรหมลิขิต
อ่านเพิ่มเติม >> ดูสดช่อง 3 Netflix พรหมลิขิต ดูย้อนหลัง พรหมลิขิต
ท้าวทองกีบม้า มีชื่อว่า มารีอา กียูมาร์ ดึ ปีญา (Maria Guyomar de Pinha) เป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ (Marie Guimar) เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส, เบงกอล และญี่ปุ่น เป็นธิดาคนโตของฟานิก กียูมาร์ (Fanik Guyomar) บิดามีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว กับมารดาชื่ออูร์ซูลา ยามาดะ ลูกหลานผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น
ท้าวทองกีบม้า เป็นภริยาพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางกรีกที่รับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท้าวทองกีบม้า และพระยาวิไชเยนทร์ มีบุตรด้วยกันสองคน คือ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) กับ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantin Phaulkon) บ้างว่าชื่อ ฆวน ฟอลคอน (Juan Phaulkon)
นอกจากนี้ เธอและสามียังอุปถัมภ์เด็กเข้ารีตกว่า 120 คน แต่ชีวิตสมรสของเธอก็ไม่ราบรื่นนัก เหตุก็เพราะความเจ้าชู้ของพระยาวิไชเยนทร์ ที่นอกใจนางไปมีสัมพันธ์สวาทกับคลารา (Clara) นางทาสชาวจีนในอุปการะของเธอ มารีอาจึงขนข้าวของและผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยามาแล้วครั้งหนึ่ง
ท้าวทองกีบม้า มีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ส่วนตำแหน่ง ท้าวทองกีบม้า ว่ากันว่า นางได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส มีทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง จนได้สมญาว่าเป็น “ราชินีแห่งขนมไทย” แต่ก็มีกระแสคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า ขนมโปรตุเกสเหล่านี้ แพร่หลายมาพร้อมกับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า 150 ปีก่อนที่นางจะเกิดเสียอีก เรื่องที่นางดัดแปลงขนมไทยจากตำรับโปรตุเกสเป็นคนแรกเห็นจะผิดไป
แต่ทว่า ชีวิตที่รุ่งโรจน์ของ ท้าวทองกีบม้า ก็พลันดับวูบลง เมื่อพระยาวิไชเยนทร์ ผู้เป็นสามี ถูกตัดสินประหารชีวิตและริบราชบาตร หลังเกิดจลาจล ก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน แต่ท่ามกลางความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี เพราะผู้คุมที่เคยได้รับการอุปการะเอื้อเฟื้อจากนางได้ลักลอบให้ความสะดวกบางประการแก่นาง ขณะที่ชาวต่างด้าวคนอื่นจะถูกกักขังและทำโทษอย่างรุนแรง
ต่อมา ท้าวทองกีบม้า ได้ถูกนำตัวไปเป็นคนใช้ในวัง ต้องตาต้องใจ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระเจ้าเสือ) พระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าแผ่นดินใหม่ มีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นบาทบริจาริกา มีการส่งคนมาเกลี้ยกล่อมพร้อมคำมั่นนานัปการ หวังเอาชนะใจนาง แต่นางไม่สนใจ ก็แปรเป็นความเกลียดและขู่อาฆาต อ่านเพิ่มเติม >> พระเจ้าเสือ ประวัติ เป็นยังไง เช็กเลย
สำหรับชีวิตในบั้นปลายของ ท้าวทองกีบม้า ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศสได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ที่สุดหลังพ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด โดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265
ขอบคุณข้อมูล วิกิพิเดีย
ขอบคุณภาพ Nararin NP