ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2566 ที่จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และ ดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 595 ล้านกิโลเมตร
เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดี จะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่านานตลอดคืน จนถึงรุ่งเช้า โดยสามารถรับชมได้ **คืนวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
ช่องทางรับชม
1.จุดสังเกตการณ์หลัก 5 แห่ง ได้แก่
- อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
- หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
2.รับชม LIVE ปรากฏการณ์ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ที่ลิงค์นี้ >> https://www.facebook.com/NARITpage