ศาลหลักเมืองน่าน หรือ เสาหลักเมืองน่าน (เสามิ่งเมือง) สร้างขึ้น โดย สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะ วรปัญญาโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงโปรดให้ฝังเสาพระหลักเมืองน่าน ในปี พ.ศ.2331 จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2506 เมืองน่านเกิดน้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำน่านไหลท่วมถึงเสามิ่งเมือง ทำให้ตัวเสาโค่นล้มลงมา ชาวน่านได้ช่วยกันบูรณะและสร้างศาลทรงไทยจตุรมุขครอบเสามิ่งเมืองขึ้น ส่วนศาลหลักเมืองน่านหลังปัจจุบันสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2548 หลังจากที่ศาลหลังเก่าทรุดโทรม ปัจจุบัน ศาลหลักเมืองน่าน ตั้งอยู่ที่ วัดมิ่งเมือง ถนนสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เปิดทุกวัน 06.00-18.00 น. ช่วงเทศกาล หรือ วันหยุด สามารถเข้ากลางคืนได้ถึง 22.00 น.
อ่านเพิ่มเติม >> ศาลหลักเมืองน่าน วัดมิ่งเมือง ไปยังไง
ขั้นตอน สักการะ เสาหลักเมืองน่าน มีค่า นิวส์ สรุปมาฝากทุกคน
1.แนะนำว่าให้ สักการะ จนครบทั้งสี่ทิศ โดย เริ่มจากทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และ ทิศตะวันตกตามลำดับ ทั้งนี้เพราะในแต่ละทิศ จะมีอุดมมงคลตามความหมายที่แตกต่างกันไป แต่หากต้องการที่จะขอพรอะไรเป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก็สักการะเสาหลักเมือง เพียงทิศใดทิศหนึ่ง ก็ทำได้เช่นกัน ไม่ถือว่าผิดกติกาอะไร มาดูความหมายของแต่ละทิศกัน
- ทิศเหนือ คือ พระเมตตา โดยจะมีท่านท้าวเวสสุวรรณ เป็นผู้รักษา และให้มงคลในด้านอำนาจ บารมี ความมั่นคง มีความกล้าแข็ง เข้มแข็ง เป็นที่เคารพเกรงขาม
- ทิศตะวันออก คือ พระกรุณา จะมีท่านท้าวธะตะรัฎฐะ เป็นผู้รักษา และให้มงคลในด้านเสน่ห์ เมตตา มหานิยม เป็นที่รัก เป็นที่ปรารถนา และชื่นชอบของคนและเทวดา
- ทิศใต้ คือ พระมุทิตา จะมีท่านท้าวิรุฬหะกะ เป็นผู้รักษา และให้มงคลในด้านความมั่งคั่ง ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ และบริวาร
- ทิศตะวันตก คือ พระอุเบกขา จะมีท่านท้าววิรุปักษ์ เป็นผู้รักษา และให้มงคลเด่นในด้านความสงบ ร่มเย็นเป็นสุข มีสันติภาพ ภราดร เป็นที่เคารพ นับถือ เชื่อถือของคนทั่วไป
2.หลังจากกราบไหว้และขอพรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากเดินออกมาจากศาลาจตุรทิศด้านทิศใต้ ก็จะได้ชื่นชมกับความงามของพระอุโบสถหลังใหม่สีขาว ที่มีความสวยงาม วิจิตรบรรจง ซึ่งถูกออกแบบตามจินตนาการในลักษณะของศิลปะล้านนาร่วมสมัย โดยมีลวดลายปูนปั้นฝีมือช่างสกุลเชียงแสนโบราณให้ได้ชมกันอยู่โดยรอบอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูล thetrippacker