นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย ออกมาชี้แจง ขออภัยที่โพสต์ข้อความอินโฟกราฟิกส์ที่เผยแพร่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าสูงสุด 90 วัน ที่อาจสร้างความสับสนโดยเกณฑ์การจองตั๋วล่วงหน้าดังกล่าว มีเป้าหมายแค่แจ้งระเบียบข้อบังคับของการรถไฟฯ เพื่อต้องการอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร ช่วยให้สามารถวางแผนการจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้มากขึ้น เส้นทางระยะไกลจะสามารถจองล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วัน ส่วนผู้โดยสารที่ต้องการจองตั๋วโดยสารระยะสั้น ก็สามารถจองตั๋วล่วงหน้าได้ 30 วัน
ขั้นตอนการจองตั๋ว
1.ผู้โดยสารแจ้งสถานีต้นทาง และสถานีปลายทางที่ต้องการเดินทาง ก็จะสามารถจองตั๋วล่วงหน้าได้ทันที
2.หากเป็นการจองผ่านระบบออนไลน์ D-Ticket ระบบจะคำนวณรายละเอียดการจองให้รับทราบทันทีว่า สามารถจองได้ล่วงหน้าสูงสุดได้กี่วัน
3.หากเลือกจองตั๋วผ่านเคาน์เตอร์สถานีรถไฟทั่วประเทศ เพียงแจ้งสถานีต้นทาง-ปลายทาง เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋ว ก็จะแจ้งรายละเอียดให้ผู้เดินทางรับทราบเช่นกัน
นำร่องขบวนรถชุด 115 คัน จำนวน 8 ขบวน ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ดังนี้
1.สายเหนือ จำนวน 2 ขบวน
– เที่ยวไป : ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 9 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – สถานีเชียงใหม่
– เที่ยวกลับ : ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 10 สถานีเชียงใหม่ – สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
2.สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 ขบวน
– เที่ยวไป : ขบวนด่วนพิเศษที่ 23 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – สถานีอุบลราชธานี
– เที่ยวกลับ : ขบวนด่วนพิเศษที่ 24 สถานีอุบลราชธานี – สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
– เที่ยวไป : ขบวนด่วนพิเศษที่ 25 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – สถานีหนองคาย
– เที่ยวกลับ : ขบวนด่วนพิเศษที่ 26 สถานีหนองคาย – สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
3.สายใต้ จำนวน 2 ขบวน
– เที่ยวไป : ขบวนด่วนพิเศษที่ 31 สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – สถานีหาดใหญ่
– เที่ยวกลับ : ขบวนด่วนพิเศษที่ 32 สถานีหาดใหญ่ – สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ผู้โดยสาร สามารถซื้อตั๋วได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
- D-Ticket : https://www.dticket.railway.co.th
- ช่องจำหน่ายตั๋ว ทุกสถานีรถไฟ ทั่วประเทศ
- Call Center การรถไฟแห่งประเทศไทย : 1690
ผู้โดยสาร สามารถตรวจสอบสถานะ ตำแหน่ง และเวลาประมาณในการถึงจุดหมายปลายทาง ได้จากระบบ TTS (Train Tracking System) : https://ttsview.railway.co.th
ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย