ปัจจุบันความนิยม รถยนต์ไฟฟ้า EV ในไทย เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2566 จากข้อมูลของรอยเตอร์ พบว่า ไทยมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเป็นส่วนใหญ่ สอดคล้องกับงาน Motor Expo 2023 ครั้งที่ 20 ที่พบว่า ยอดจองรถยนต์ EV ถล่มทลายมาก โดยเฉพาะ BYD แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน มียอดจองสูงเป็นอันดับ 1 ในงานเลยทีเดียว
บริษัท ดาต้าเซ็ต จึงใช้เครื่องมือ DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงผู้บริโภค (Social Listening) เก็บข้อมูลบน Social Media ระหว่างวันที่ 15 พ.ย.- 16 ธ.ค. 2566 เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มีการพูดถึงบนสังคมออนไลน์ว่า สอดคล้องกับแบรนด์รถที่มียอดจองสูงจากงาน Motor Expo 2023 หรือไม่ ผลปรากฏว่า ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ใน 3 อันดับแรก
10 แบรนด์ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด (By Mention)
1. BYD 19.6%
2. CHANGAN 14.7%
3. Tesla 11.6%
4. AION 10.3%
5. GWM 9.2%
6. MG 8.4%
7. NETA 7.8%
8. Hyundai 7.5%
9. Honda 3.0%
10. อื่น ๆ 7.9%
10 แบรนด์ที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด (By Engagement)
1. BYD 22.3%
2. CHANGAN 17.3%
3. Tesla 12.8%
4. Honda 9.4%
5. AION 7.7%
6. NETA 6.1%
7. GWM 5.4%
8. MG 4.4%
9. Hyundai 3.7%
10. อื่น ๆ 10.9%
Top 3 แบรนด์รถไฟฟ้าที่ได้รับความสนใจสูงสุด
1.BYD เรียกได้ว่า เป็นที่ฮือฮาในสังคมออนไลน์หลังจาก แบรนด์ BYD แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่จากจีนได้ทำการปล่อยคลิปสาธิตโหมด “Emergency Float Mode” ที่จะเป็นโหมดที่ตัวรถจะทำการขับบนผิวน้ำได้แบบอัตโนมัติ เมื่อรถตกน้ำ และจะพาผู้โดยสารในรถกลับขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย โดยจะเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่จะมาในรถ SUV ไฟฟ้า ตัว Top ของทางแบรนด์อย่าง YangWang U8 ที่เปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ความคิดเห็นส่วนใหญ่ชื่นชมการพัฒนาเทคโนโลยี และตื่นเต้นกับฟีเจอร์ดังกล่าวพร้อมทั้งรอติดตามที่จะได้เห็นการเทสฟีเจอร์นี้จากประสบการณ์ผู้ใช้จริง
2.CHANGAN รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกแบรนด์หนึ่งที่กำลังมาแรงไม่แพ้ BYD เห็นได้จากการเอ็นเกจกับคอนเทนต์ “รีวิวเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นใหม่จากฉางอัน” ที่เปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา จาก YouTube Account Autilifethailand Official ที่ได้การเอ็นเกจสูงสุด และกวาดยอดวิวไปกว่า 340K แสดงให้เห็นความเป็นที่นิยม เนื่องจากโดดเด่นในด้านเทคโนโลยีและความแรงของรถที่ขับเคลื่อนกำลังสูงสุด 190 kW เทียบเท่า 258 แรงม้า นอกจากนั้นฉางอันยังตีตลาดไทยด้วยเรื่องของความคุ้มค่า โดยการมอบสิทธิพิเศษ มูลค่ารวมกว่า 250,000 บาท เช่น ฟรีประกันภัยชั้น 1, รับประกันแบตเตอรี่และบำรุงรักษาฟรี นาน 8 ปี, บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. นาน 8 ปี, ฟรีที่ชาร์จรถที่บ้าน และอื่น ๆ
3.Tesla แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ายุโรปที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ คงไม่พ้น Tesla โดยในช่วงเดือนที่ผ่านมาจากโพสต์เด่นพบการเปิดตัว Cybertruck หรือ รถกระบะไฟฟ้ารุ่นแรกของ Tesla สิ่งที่น่าสนใจในรถยนต์รุ่นนี้ก็คือฟีเจอร์ Powershare ที่ทำให้สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรถคันอื่นหรือบ้านได้สูงสุด 9.6kW ความคิดเห็นต่างให้ความสนใจฟีเจอร์ดังกล่าวเป็นอย่างมากจึงได้รับฉายาในโซเชียลมีเดียว่า “พาวเวอร์แบงค์เคลื่อนที่” โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับ Engagement สูงกว่า 7,428 ครั้ง
ส่องความคิดเห็นใน Social Media
จากภาพรวมเสียงสะท้อนของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ EV และรถยนต์สันดาปนั้น พบว่าปัจจุบันเสียงส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทิศทางเชิงบวกต่อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้พบว่าเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกซื้อรถยนต์ EV ได้แก่
1. ความคุ้มค่าและความประหยัด
2. ดีไซน์ของรถที่มีความทันสมัย
3. เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือ AI ของตัวรถ
4. ลดมลพิษทางอากาศ
ผู้บริโภคบางส่วนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับรถยนต์ EV ในด้านต่าง ๆ เมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาป ได้แก่
1. ปัญหาแบตเตอรี่
2. ความเพียงพอของสถานีชาร์จ
3. คุณภาพการใช้งาน
4. ราคาของประกันรถที่อาจแพงกว่ารถยนต์สันดาป
จากแบรนด์รถยนต์ EV ของ BYD ที่มีการกล่าวถึง (Mention) และยอด Engagement มากที่สุดเป็นอันดับ 1 พบว่า เหตุผลส่วนใหญ่ที่คนเลือกใช้รถยนต์ BYD จะสอดคล้องกับเหตุผลที่คนส่วนใหญ่ที่คนเลือกใช้รถยนต์ EV ทั้งในเรื่องของดีไซน์รถ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและความบันเทิง และยังเพิ่มความสามารถที่ทำให้ผู้คนสามารถนอนหลับบนรถได้ สุดท้ายเรื่องของราคาที่มีความหลากหลายสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
ยักษ์ใหญ่ไอทีจีนลงเล่นตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
รู้หรือไม่ ? แบรนด์เทคโนโลยี 2 เจ้าดังของจีน ก็ได้มาเล่นตลาดรถอีวีด้วย อย่าง Xiaomi ล่าสุดได้มีการเปิดตัวรถ รุ่น SU 7 และ Huawei ร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ Chery Auto เปิดตัว S7 ภายใต้แบรนด์ Luxeed
ทั้งนี้ ความต้องการรถยนต์ EV ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคนั้นได้สร้างความสะเทือนให้กับผู้ผลิตรถยนต์สันดาปเป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดจากสถิติของ Forbes ที่เผยยอดการผลิตรถยนต์สันดาปในปี 2566 เทียบกับปี 2565 นั้นลดลงถึง 8% ผู้ผลิตหลายรายหันมาผลิตรถ EV กันมากขึ้น
ล่าสุดทางแบรนด์รถยนต์จากค่ายใหญ่ เช่น Honda และ Toyota ก็ได้เริ่มมีการผลิตรถยนต์ EV ออกมา โดยทาง Honda ได้ออกรถยนต์ EV คือ รุ่น e:N1 และ ทาง Toyota คือ รุ่น bZ4X ซึ่งจากทาง 2 ค่ายใหญ่ที่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การเลือกซื้อรถยนต์ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค จึงคาดว่าแนวโน้มในอนาคตจะมีการผลิตรถยนต์ EV เพิ่มมากขึ้นจากทั้งหลายแบรนด์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้เองทางรัฐบาลไทยจึงมีนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย