เมื่อบุคคลเสียชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลนั้น จะตกทอดสู่ทายาท ไม่ว่าจะมี หรือไม่มีพินัยกรรม ก็ต้องมีผู้ที่จะทำการแบ่ง ซึ่งหากทายาทไปจัดการโอนย้ายด้วยตนเอง หน่วยงาน หรือสถาบันต่าง ๆ มักจะไม่จัดการโอนทรัพย์สินให้ เนื่องจากไม่แน่ใจว่ามีสิทธิในทรัพย์สินจริงหรือไม่ หากโอนไปแล้วทายาทผู้มีสิทธิตัวจริงมาเรียกร้องก็จะเกิดปัญหายุ่งยาก
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงาน หรือสถาบันต่าง ๆ มักให้ทายาทไปขอศาลตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน จากนั้นจึงให้ผู้ที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนำคำสั่งศาล พร้อมใบรับรองแสดงว่าคดีถึงที่สุด มาทำการโอนทรัพย์สินของผู้ตายไปแบ่งปันให้กับทายาททุกคนผู้มีสิทธิ
ล่าสุด สำนักงานศาลยุติธรรม ประกาศเรื่อง คู่ความที่มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing System) ลงวันที่ 27 มกราคม 2564 กำหนดให้บุคคลธรรมดา ที่ยื่นคำร้องขอจัดการมรดก มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ยื่นขอจัดการมรดก ผ่าน ระบบ e-Filing ด้วยตัวเองได้แล้ว มีค่า นิวส์ สรุปมาให้ค่ะ
ใครมีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก
ตามกฎหมายกำหนดลำดับไว้ 6 ลำดับด้วยกัน ดังนี้
1.บุตรผู้สืบสันดาน
2.บิดามารดา
3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5.ปู่ ย่า ตา ยาย
6.ลุง ป้า น้า อา
7.สามี ภรรยา (เป็นทายาทลำดับเดียวกับผู้สืบสันดาน แต่ต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย ถึงจะมีสิทธิ)
ประชาชนสามารถยื่นขอจัดการมรดกได้ด้วยตัวเองผ่านทางระบบ e-Filing หากเจ้าของมรดก มีภูมิลำเนาในขณะถึงแก่ความตาย ในท้องที่เหล่านี้ (ดูรูปด้านล่าง)
ข้อควรทราบก่อนยื่นขอจัดการมรดกทางระบบ e-Filing สำหรับประชาชน
1.ผู้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกทางออนไลน์ จะต้องมีคำขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
2.หากศาลมีคำสั่งที่กำหนดให้ผู้ร้องจะต้องชำระเงินเพิ่มเติม นอกจากค่าขึ้นศาล เช่น ส่งสำเนาคำร้องแก่ทายาทที่ไม่ได้ให้ความยินยอม ผู้ร้องจะต้องเดินทางไปชำระเงินที่ศาล
ถ้าต้องการยื่นขอจัดการมรดกทางระบบ e-Filing ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- เอกสารสำเนาบัตรประชาชน
- ใบสำคัญการสมรส หรือแบบข้อมูลทะเบียน
- หนังสือยินยอมจากทายาทอื่น ๆ ครอบครัวของผู้ตาย (ถ้ามี)
- ทะเบียนบ้านผู้ร้องและผู้ตาย
- ใบมรณบัตรของผู้รับพินัยกรรมที่ไม่ใช่ทายาท
- ใบมรณบัตรของผู้ตาย เช่น ใบมรณบัตรของบิดาผู้ตาย (ถ้ามี)
- แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล ของผู้ตาย (ถ้ามี)
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล ของผู้ร้อง (ถ้ามี)
- เอกสารพินัยกรรม (ถ้ามี)
ขั้นตอนการยื่นขอจัดการมรดก ผ่าน ระบบ e-Filing มีค่า นิวส์ สรุปมาให้
1.เข้าไปลงทะเบียนเข้าสู่ระบบผ่านแอปพลิเคชัน COJ Connect คลิกที่นี่https://appstore.coj.go.th/cojconnect
2.เข้ามาที่เว็บไซต์ https://efiling3.coj.go.th/citizen/ เพื่อเริ่มยื่นคำขอ
3.ระบบจะส่งรหัส OTP ไปยังมือถือที่ได้ลงทะเบียนไว้ สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนครั้งแรก จำเป็นที่จะต้องไปยืนยันตนที่ศาลใกล้บ้านก่อน จากนั้นค่อยกลับมาดำเนินการต่อ คลิกเมนูด้านบนตรงคำว่า โจทก์ เลือก ยื่นคำร้องขอจัดการมรดก
4.จากนั้นจะมีข้อแนะนำและเงื่อนไขในการใช้งานอ่านให้ละเอียดและกดยอมรับเงื่อนไข
5.หน้าต่อไป คือ ศาล/ประเภทคดี กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบทุกช่อง ศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีต้องเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย (ดูที่ตารางด้านบน)
6.หลังจากนั้น กรอกรายละเอียดของผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องที่สามารถยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ ต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้น
7.ถัดมากรอกรายละเอียดของผู้ตาย
8.อัปโหลดเอกสารต่าง ๆ ที่เราได้เตรียมไว้ในตอนต้น ตรงคำขอท้ายฟ้อง เขียนว่า ขอศาลได้โปรดทำการไต่สวนและมีคำสั่งแต่งตั้งให้นาย/นางสาว…เป็นผู้จัดการมรดกของนาย…ผู้วายชนม์เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไปขอศาลได้โปรดอนุญาต ลงท้ายด้วย ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
9.จากนั้นลงวันและเวลานัดในการไต่สวน เลือกวันที่เราสะดวก ปกติจะห่างจากวันที่ยื่นประมาณ 30-45 วัน
10.หลังจากเลือกวันนัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ก่อนชำระเงินค่าธรรมเนียม
11.ในหน้าชำระเงินสามารถติ๊กขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้
12.ผลของการยื่นคำขอ โดยพิมพ์ใบยันยันการรับเอกสารและรับเงินเก็บไว้ จากนั้นวันรุ่งขึ้นก็กลับมาล็อกอินอีกครั้ง เพื่อดูว่าศาลรับคำร้องหรือไม่ หากศาลรับคำร้องไว้พิจารณา ก็เตรียมตัวไปศาลในวันนัดที่กำหนดเอง
เข้าไปดูคู่มือการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกอนนไลน์ผ่าน e-filling >> คลิกที่นี่