หลังจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) คือ วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 และ เปิดให้ประชาชน ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ในเขตและนอกเขต รวมถึงนอกราชอาณาจักร ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566
อ่านเพิ่มเติม >> ไทม์ไลน์ เลือกตั้ง 2566 หลัง นายกยุบสภา
อ่านเพิ่มเติม >> ดูรายชื่อ 88 พรรคการเมือง
อ่านเพิ่มเติม >> เลือกตั้ง 2566 ร้องเรียน แจ้งเบาะแสทุจริต ที่ไหน
แต่ขั้นตอนสำคัญ คือ ประชาชนจะต้องเข้าไปลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าก่อน ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม ถึง 9 เมษายน 2566 มีค่า นิวส์ จึงสรุปขั้นตอนมาให้ทั้ง 3 แบบเลยค่ะ กับ ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566
1.การยื่นคําขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้ง
1.1 ยื่นคําขอลงทะเบียน ต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือ นายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีถิ่นที่อยู่
1.2 เขียนรายละเอียดลงแบบคําร้องขอ พร้อมเอกสาร และหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยยื่นคําขอลงทะเบียน 2 ช่องทาง ดังนี้
- ยื่นคําขอ ด้วยตนเอง(หรือมอบหมาย ผู้อื่นยื่นแทน)
- ยื่นคําขอ ทางไปรษณีย์
1.3 สิ่งที่ต้องเตรียม
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือ
- สําเนาบัตรที่มีรูปถ่ายและหมายเลขประจําตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้
- คําสั่งของทางราชการ หรือหนังสือ รับรองจากหน่วยงานของรัฐ
- แบบคําร้องขอใช้สิทธิฯ
2.การยื่นคําขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง
2.1 ยื่นคําขอลงทะเบียนต่อนายทะเบียนอําเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีถิ่นที่อยู่
2.2 เขียนรายละเอียดลงแบบคําร้องขอ พร้อมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยยื่นคําขอลงทะเบียน 3 ช่องทาง ดังนี้
- ยื่นคําขอ ด้วยตนเอง(หรือมอบหมาย ผู้อื่นยื่นแทน)
- ยื่นคําขอ ทางไปรษณีย์
- ยื่นคําขอ ทางอินเทอร์เน็ต(หรือทางแอปฯ Smart Vote)
2.3 สิ่งที่ต้องเตรียม
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือ
- สําเนาบัตรที่มีรูปถ่ายและหมายเลขประจําตัวประชาชนที่ทางราชการออกให้
- แบบคําร้องขอใช้สิทธิฯง
3.ขั้นตอนและวิธีการ ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งในและนอกเขตเลือกตั้ง ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
3.1 เข้าไปในเว็บไซต์ ระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต >> การลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต (dopa.go.th) หรือแอปพลิเคชัน SMART VOTE ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android
3.2 บันทึกข้อมูลตามนี้
- เลขประจําตัวประชาชน
- ชื่อตัว ชื่อสกุล
- วันเดือนปีเกิด
- หมายเลขหลังบัตรประจําตัวประชาชน
- เลขรหัสประจําบ้าน (11 หลัก)
- สถานที่ที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง
3.3 ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วกดยืนยันการลงทะเบียน
3.4 เมื่อยืนยันการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์ระบบจะแสดง แบบตอบรับเป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิ ออกเสียงลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง
หมายเหตุ : ลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ต้องนําส่งเอกสารและหลักฐานประกอบการลงทะเบียน
4.การยื่นคําขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้ง นอกราชอาณาจักร
4.1 กรณีอยู่นอกราชอาณาจักร ยื่นแบบคําร้อง 30 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ในวันและเวลาราชการ ณ สถานเอกอัครราชฑูตแห่งเขตรับผิดชอบที่ตนมีถิ่นที่อยู่ โดยยื่นเอกสาร ดังนี้
- หนังสือเดินทาง
- บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้ และมีเลขประจําตัวประชาชน
ขอลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง
- ยื่นด้วยตนเองหรือมอบหมายผู้อื่นยื่นแทน
- ยื่นทางไปรษณีย์ถึงสถานเอกอัครราชฑูต
- ยื่นคําขอทางอินเทอร์เน็ต
4.2 กรณีอยู่ในประเทศไทยแต่จะเดินทาง ไปต่างประเทศในช่วงการเลือกตั้ง สามารถยื่นขอลงทะเบียนได้ 3 ช่องทาง
- ยื่นที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น
- ยื่นทางไปรษณีย์ถึงสถานเอกอัครราชฑูต
- ยื่นคําขอทางอินเทอร์เน็ต
5.ขั้นตอนและวิธีการ ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า นอกราชอาณาจักร ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
5.1 เข้าไปในเว็บไซต์ ระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต >> ระบบลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ทางอินเทอร์เน็ต (dopa.go.th) หรือแอปพลิเคชัน SMART VOTE ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android
5.2 บันทึกข้อมูลตามนี้
- เลขประจําตัวประชาชน
- ชื่อตัว ชื่อสกุล
- วันเดือนปีเกิด
- หมายเลขหลังบัตรประจําตัวประชาชน
- เลขรหัสประจําบ้าน (11 หลัก)
- สถานที่ที่ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
5.3 ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วกดยืนยันการลงทะเบียน
5.4 เมื่อยืนยันการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์ระบบจะแสดง แบบตอบรับเป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิ ออกเสียงลงคะแนนนอกราชอาณาจักร
หมายเหตุ : ลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ต้องนําส่งเอกสารและหลักฐานประกอบการลงทะเบียน
ขอบคุณข้อมูล https://www.thaivote.info