ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หรือ ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายใบหน้าคนกำลังยิ้ม โดยดาวคู่ดังกล่าว ได้แก่ ดาวศุกร์ และ ดาวพฤหัสบดี เมื่อมองจากโลก จะอยู่ห่างกัน 2 องศา ในระยะท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ด้านล่างระหว่างดาวทั้งสองดวง และห่างกัน 2 องศา
ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน จะเกิดขึ้น 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุก ๆ 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์ (ดาวประจำเมือง) ดาวพฤหัสบดี และ ดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่างของดาวอีก 2 ดวง และอยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
แต่ปรากฏการณ์นี้จะมองเห็นได้ไม่นานนัก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นช่วงเวลาหัวค่ำ เพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา **สำหรับ ดาวเคียงเดือน ดาวพฤหัสบดีเคียงจันทร์ ครั้งที่ 2 ของปี 2567 (2024) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ขั้นตอนการชม : หลังฟ้ามืด ยืนตัวตรงคอตั้งบ่า แหงนหน้ามองฟ้า จะได้พบกับดวงจันทร์ครึ่งดวงอยู่เคียงข้างดาวพฤหัสบดีที่สุกสว่างสวยงามเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูล วิกิพิเดีย, ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ – Bangkok Planetarium
ขอบคุณรูปภาพ timeanddate