กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ รัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย โดย สถานเอกอัครราชฑูตอินเดียประจำประเทศไทย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ ดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 26 กรกฎาคม 2567 โดยมีการจัดงานระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 19 มีนาคม 2567 อ่านเพิ่มเติม >> กำหนดการ พิธีอัญเชิญ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ 4 ภูมิภาค วันที่ 22 ก.พ.-19 มี.ค. 67
สำหรับพื้นที่แรกที่เปิดให้ประชาชนสักการะ คือ ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา และภูมิภาคที่สองได้อัญเชิญมาที่ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคม 2567 มีค่า นิวส์ จึงสรุปขั้นตอนสักการะมาฝากค่ะ
ขั้นตอน สักการะพระบรมสารีริกธาตุ เชียงใหม่
1.นำรถไปจอด ตามจุดที่กำหนดให้ โดยจะมีรถรางบริการ รับ-ส่ง ถึงประตูช้างค้ำ ตั้งแต่เวลา 08.00-21.00 น. อ่านเพิ่มเติม >> จุดจอดรถ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์
2.เปิดให้ศาสนิกชน เข้าสักการะฯ โดยไม่มีบัตรคิว ตั้งแต่เวลา 08.00-21.00 น. จะเปิดรับให้เข้าสักการะได้ถึง 18.00 น. ซึ่งในช่วงเวลา 18.00 น. ของทุกวันจะมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ จะหยุดให้เข้าสักการะ และจะให้เข้าสักการะอีกครั้งหลังพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสร็จสิ้น
3.การเดินขึ้นไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ เจ้าหน้าที่จะให้ขึ้นไปบนชานพักที่ 1 ของหอคำหลวง ไหว้ 1 ครั้ง โดยไม่ต้องกราบ
4.หอคำหลวง ประกอบด้วย 3 ชั้น
4.1 ชั้นบนสุด ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุฯ บนมณฑป ในห้องปรับแสง ปรัปอุณหภูมิ ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง (ประชาชนห้ามเข้า อนุญาตช่างภาพ 5 คน)
4.2 ชั้นที่สอง สำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ไหว้ 1 ครั้ง เดินลงทางซ้าย
4.3 ชั้นที่สาม สำหรับประชาชนทั่วไป ไหว้ 1 ครั้ง แล้วสามารถเดินเวียนเทียนวนรอบ แล้วลงทางด้านขวา โดยในชั้นนี้ สามารถกราบ บนพรมแดง ที่เตรียมไว้ให้ โดยท่านสามารถนำดอกไม้มาเอง หรือมารับที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้ก็ได้ โดยดอกไม้ทั้งหมดจะมีเจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นมวลสารฯ ต่อไป
5.เมื่อกราบสักการะเสร็จแล้ว จิตอาสาพระราชทาน จะแจกธรรมะพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ธรรมมนาวาวัง” คนละ 1 ฉบับ แจกทุกวัน รวม 1 แสนฉบับ
6.ศาสนิกชนที่เดินขึ้นไปสักการะบนหอคำหลวง จะต้องเตรียมถุง สำหรับใส่ของใช้ส่วนตัว น้ำดื่ม ร่ม/หมวก มาเอง เนื่องจากไม่มีบริการรับฝากของ

หมายเหตุ :
1.การแต่งกาย ให้งดแต่งกายด้วยสีดำ
- สุภาพบุรุษ แต่งกายชุดสุภาพ สวมเสื้อและกางเกงสีขาว สีครีม หรือสีอ่อน
- สุภาพสตรี สวมเสื้อและผ้าถุง หรือ กางเกง สีขาว หรือสีครีม **งดเว้นเสื้อแขนกุด เสื้อสายเดี่ยว และกระโปรงสั้นเหนือเข่า และกางเกงขาสั้น
2.สำหรับศาสนิกชน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเดินขึ้นบันไดไปสักการะบนหอคำหลวงได้ ให้เดินเวียนทักษิณาวัตรรอบหอคำหลวง โดยพนมมือไหว้ระหว่างการเดินเวียน
3.อุทยานหลวงราชพฤกษ์ มีจุดบริการผู้พิการ และผู้สูงอายุ บริเวรทางเข้าประตูช้างค้ำ ด้านขวามือ โดยมีรถรางบริการไปบริเวณลานราชพฤกษ์
ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ กรมการศาสนา, PR Chiangmai