ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ ปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อบรรเทาภาระหนี้ และมีสภาพคล่องยามฉุกเฉิน ครอบคลุม 3 ประเภทหนี้หลัก มีอะไรบ้าง มีค่า นิวส์ สรุปให้ค่ะ
1.หนี้บัตรเครดิต การผ่อนชำระขั้นต่ำ (minimum payment)
- เริ่ม 1 ม.ค. 68 คงอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำที่ 8% จนถึงสิ้นปี 25668 (จากเดิมจะกลับสู่ระดับปกติที่ 10%)
- เริ่ม 1 ม.ค. 68 มีเครดิดเงินคืนให้ผู้ที่จ่ายขั้นต่ำได้มากกว่าหรือเท่ากับ 8% เทียบเท่าการลดดอกเบี้ย 0.5% ครึ่งปีแรก และ 0.25% ครึ่งปีหลังของปี 2568 (จ่ายทุก 3 เดือน)
- เริ่มภายใน ก.ย. 67 มีโอกาสคงวงเงินส่วนที่เหลือในบัตรเครดิด สำหรับผู้ที่จ่ายขั้นต่ำตั้งแต่ 5% แต่ไม่ถึง 8% หากปรับโครงสร้างหนี้ จากเดิมที่ต้องปิดวงเงินทันทีหลังปรับโครงสร้างหนี้
2.หนี้บ้านและหนี้รายย่อย มาตรการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อย (debt consolidation)
- เริ่มภายใน ก.ย. 67 (สิ้นสุด ธ.ค. 68) ผ่อนปรนอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV)
ให้เกินเพดานที่ทำหนด - เริ่มภายใน ก.ย. 67 (สิ้นสุด ธ.ค. 68) มีโอกาสคงวงเงินสินเชื่อรายย่อยส่วนที่เหลือ ภายหลังการรวมหนี้
3.หนี้บัตรกดเงินสด การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง (persistent debt – PD)
- เริ่ม 1 ม.ค. 68 ขยายระยะเวลาการปิดจบหนี้จากภายใน 5 ปี เป็น 7 ปี เพื่อลดค่างวดต่อเดือน (อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี เท่าเดิม)
- เริ่มภายใน ก.ย. 67 (สิ้นสุด ธ.ค. 68) มีโอกาสคงวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนส่วนที่ไม่ได้ใช้
ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand