ถาม : จดทะเบียนสมรสเท่าเทียมได้ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
ตอบ : หลังจาก ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 รับรองระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัดเฉพาะชาย หญิง โดยให้บุคคลสองคน สามารถแต่งงานกันได้ถูกต้องตามกฎหมาย แก้ไขคำว่า ชาย และ หญิง เป็น บุคคล และเรียกคู่สามี-ภรรยา เป็น คู่สมรส (สมรสเท่าเทียม) มีผลบังคับใช้ 22 ม.ค. 68 เป็นต้นไป ซึ่งจะสามารถ จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. 68 เป็นต้นไป อ่านประกาศฉบับเต็ม >> สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว! ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ 23 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป
จดทะเบียนสมรสเท่าเทียมได้ที่ไหน
1.พื้นที่กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
2.พื้นที่ต่างจังหวัด : ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง
จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม ใช้เอกสารอะไรบ้าง
1.บัตรประชาชนตัวจริงที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
2.ทะเบียนบ้านตัวจริง
3.พยาน 2 คน ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (พร้อมบัตรประชาชนของพยาน)
4.ถ้าเคยหย่ามาก่อน ต้องพกหลักฐานการหย่าไปด้วย
5.กรณีคู่สมรสคนก่อนหน้าเสียชีวิต ต้องมีหลักฐานการตาย เช่น ใบมรณบัตร ประกอบด้วย
6.สูติบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร กรณีที่มีลูกก่อนที่จะจดทะเบียนสมรส
7.แบบฟอร์ม คร.1 สามารถขอได้จากที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนที่ไปจดทะเบียนสมรส
8.กรณีชาวต่างชาติ จะต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) ตัวจริง และแบบฟอร์มรับรองที่ได้จากสถานทูตหรือกงสุลที่แปลแล้วประกอบด้วย