มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ต.ค. 67 เห็นชอบทบทวนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 (เงินช่วยเหลือน้ำท่วม 2567) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อให้การช่วยเหลือสอดคล้องกับสถานการณ์ที่อุทกภัยได้ส่งผลรุนแรง เกิดความเสียหายกับประชาชน ให้ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบได้รับค่าดำรงชีพเป็นกรณีพิเศษ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลืออย่างโดยเร็ว
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขฯ ที่ได้รับการอนุมัติทบทวนครั้งนี้ จะเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ทั้งกรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำลันตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังติดต่อกัน เกินกว่า 7 วัน **ให้ได้รับเงินช่วยเหลืออัตราเดียว ครัวเรือนละ 9,000 บาท ใน พื้นที่ 57 จังหวัด ได้แก่
- กระบี่
- กาญจนบุรี
- กาฬสินธ์ุ
- กำแพงเพชร
- ขอนแก่น
- จันทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- ชัยภูมิ
- ชลบุรี
- เชียงราย
- เชียงใหม่
- ตรัง
- ตราด
- ตาก
- นนทบุรี
- นครนายก
- นครปฐม
- นครพนม
- นครสวรรค์
- นครราชสีมา
- นครศรีธรรมราช
- น่าน
- บึงกาฬ
- ปราจีนบุรี
- พระนครศรีอยธยา
- พังงา
- พะเยา
- พิจิตร
- พิษณุโลก
- เพชรบูรณ์
- แพร่
- ภูเก็ต
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- แม่ฮ่องสอน
- ยะลา
- ระยอง
- ราชบุรี
- ร้อยเอ็ด
- ลำปาง
- ลำพูน
- เลย
- ศรีสะเกษ
- สกลนคร
- สตูล
- สระแก้ว
- สระบุรี
- สุโขทัย
- สุพรรณบุรี
- สุราษฎร์ธานี
- หนองคาย
- หนองบัวลำภู
- อ่างทอง
- อุทัยธานี
- อุดรธานี
- อุตรดิตถ์
- อุบลราชธานี
สำหรับอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เดิม ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 67 นั้นมี 3 อัตรา ได้แก่
1.กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท
2.กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท
3.กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันกว่า 60 ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท