22 ม.ค. 68 ไทยจะเริ่มใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นชาติแรก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ต่อจากไต้หวัน, เนปาล ที่ผ่าน กฎหมายสมรสเท่าเทียม ทำให้สังคมไทยตระหนักและเคารพในความแตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เพศสภาพ เพศวิถี เชื้อชาติ ศาสนา โดยไม่จำกัดเฉพาะชาย หญิง ให้บุคคลสองคน สามารถแต่งงานกันได้ถูกต้องตามกฎหมาย แก้ไขคำว่า ชาย และ หญิง เป็น บุคคล และเรียกคู่สามี-ภรรยา เป็น คู่สมรส (สมรสเท่าเทียม) เบื้องต้น ได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เรียบร้อยแล้ว อ่านต่อ >> สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว! ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ 23 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป
อ่านต่อ >> จดทะเบียนสมรสเท่าเทียมได้ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
คุณสมบัติ ผู้จดทะเบียนสมรส
1.บุคคลทั้งสองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
2.กรณีผู้เยาว์ต้องนำบิดามารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
3.กรณีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
4.ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
5.ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
6.ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
7.ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ไม่ได้
8.หญิงที่ชายผู้เป็นคู่สมรสตาย หรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
- ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
- สมรสกับคู่สมรสเดิม
- บุคคลที่มีอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้
- มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน และ สำนักทะเบียนอำเภอ ทั่วประเทศ