หลังการเกิด แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กม. ประทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ซึ่งในประเทศไทยก็สามารถรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร จนทำให้อาคารบางแห่งมีรอยร้าว โดยตามกฎกระทรวง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2564 กำหนดให้อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตร หรือ 5 ชั้น ขึ้นไป และอาคารสาธารณะ เป็นต้น ต้องออกแบบอาคารต้านทานแรงแผ่นดินไหว (สำหรับอาคารที่มีความสูงต่ำกว่า 15 เมตร จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า สำหรับแผ่นดินไหวจากแหล่งกำเนิดระยะไกล)
ดังนั้น เมื่อมีการสำรวจความเสียหายเบื้องต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ตามคู่มือของกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้แนะนำโดยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ของโครงสร้างหลัก คือ เสา คาน กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก และพื้นอาคาร แล้ว ไม่พบความเสียหาย หรือเสียหายเล็กน้อย (ดูภาพประกอบ) สามารถเข้าไปใช้อาคารได้โดยปลอดภัย

แต่หากพบ รอยร้าว หรือความเสียหาย จากแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบได้ง่าย ๆ ผ่าน LINE : @traffyfondue ไม่ต้องโหลดแอป แค่แอดไลน์ คลิกที่นี่ >> https://page.line.me/105rlyvn
ขั้นตอนการ แจ้งรอยร้าวแผ่นดินไหว ผ่าน traffyfondue
1.แอดไลน์ @traffyfondue
2.เลือกเมนู แจ้งรอยร้าวอาคาร
3.กรอกรายละเอียด เช่น
- ลักษณะของอาคาร (บ้านเดี่ยว, อาคารสูง ฯลฯ)
- ความสูงของอาคาร
- ขนาดรอยร้าว (ระบุเป็นมิลลิเมตร)
- ชั้นที่พบรอยร้าว
- เบอร์โทรติดต่อกลับ
- แนบรูปภาพมุมกว้าง + มุมแคบ
- แชร์พิกัด (Location)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1555

ขอบคุณภาพ ข้อมูล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) Engineering Institute of Thailand, กรุงเทพมหานคร