พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ในวันนี้ (24 สิงหาคม 2564) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เป็นครั้งที่ 2 เพิ่มเติมอีก 12 จังหวัด ซึ่งเมื่อรวมกับที่ได้อนุมัติไปแล้ว 23 จังหวัดในการประชุมครั้งที่แล้ว รวมเป็นทั้งสิ้น 35 จังหวัด จำนวนโครงการที่ผ่านการอนุมัติ 4,303 โครงการ รวมกรอบวงเงินจัดสรรที่ 9,757.86 ล้านบาท ให้กับจังหวัดต่อไปนี้
ครั้งที่ 1 จำนวน 23 จังหวัด 2,117 โครงการ วงเงินรวม 6,170.65 ล้านบาท
1. นครสวรรค์ 84 โครงการ 295.51 ล้านบาท
2. อุทัยธานี 102 โครงการ 219.03 ล้านบาท
3. กำแพงเพชร 338 โครงการ 275.03 ล้านบาท
4. พิจิตร 89 โครงการ 215.80 ล้านบาท
5. อุดรธานี 77 โครงการ 362.23 ล้านบาท
6. หนองคาย 53 โครงการ 206.61 ล้านบาท
7. หนองบัวลำภู 81 โครงการ 251.30 ล้านบาท
8. บึงกาฬ 70 โครงการ 229.45 ล้านบาท
9. ขอนแก่น 375 โครงการ 370.28 ล้านบาท
10. สิงห์บุรี 70 โครงการ 234.01 ล้านบาท
11. ปทุมธานี 47 โครงการ 262.08 ล้านบาท
12. เพชรบุรี 43 โครงการ 234.67 ล้านบาท
13. ประจวบคีรีขันธ์ 84 โครงการ 240.92 ล้านบาท
14. ฉะเชิงเทรา 71 โครงการ 275.72 ล้านบาท
15. ตราด 37 โครงการ 212.77 ล้านบาท
16. สุราษฎร์ธานี 121 โครงการ 331.15 ล้านบาท
17. ชุมพร 58 โครงการ 214.77 ล้านบาท
18. นครศรีธรรมราช 57 โครงการ 354.66 ล้านบาท
19. พัทลุง 66 โครงการ 299.01 ล้านบาท
20. สงขลา 74 โครงการ 348.78 ล้านบาท
21. กระบี่ 35 โครงการ 263.70 ล้านบาท
22. ตรัง 41 โครงการ 256.60 ล้านบาท
23. สตูล 44 โครงการ 216.80 ล้านบาท
ครั้งที่สอง จำนวน 12 จังหวัด 2,186 โครงการ วงเงินรวม 3,587.21 ล้านบาท
1. กาฬสินธุ์ 690 โครงการ 400.57 ล้านบาท
2. มหาสารคาม 473 โครงการ 282.38 ล้านบาท
3. นครราชสีมา 227 โครงการ 494.36 ล้านบาท
4. ชัยภูมิ 257 โครงการ 275.78 ล้านบาท
5. ยโสธร 20 โครงการ 251.45 ล้านบาท
6. สระบุรี 121 โครงการ 234.03 ล้านบาท
7. นครปฐม 105 โครงการ 263.88 ล้านบาท
8. จันทบุรี 56 โครงการ 207.03 ล้านบาท
9. พังงา 47 โครงการ 219.58 ล้านบาท
10. ระนอง 69 โครงการ 249.37 ล้านบาท
11. นราธิวาส 63 โครงการ 354.09 ล้านบาท
12. ปัตตานี 58 โครงการ 354.66 ล้านบาท
โดยโครงการทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 โครงการพัฒนาสินค้า ท่องเที่ยวบริการ และการค้า เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด
กลุ่มที่ 2 โครงการยกระดับประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตร เช่น การขุดบ่อบาดาลสำหรับการเกษตร การขยายท่อเพื่อการเกษตร
กลุ่มที่ 3 โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของประชาชนให้สูงขึ้น
กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุมชน เช่น การทำถนน สาธารณูปโภค ปรับปรุงประปา อาคาร และอื่นๆ
ทั้งนี้ โครงการทั้งหมด เป็นโครงการระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตจากสถานการณ์โควิด-19 มีระยะเวลาในการดำเนินการระหว่างเดือน ส.ค.-ธ.ค. 64 คาดว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างน้อย 95,500 คน มีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่า 18 ล้านคน และโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ยังจะมีการอนุมัติครั้งต่อๆไป สำหรับจังหวัดอื่นๆที่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการ ซึ่งจะได้นำเสนอต่อ ครม.ในการประชุมต่อไปโดยเร็วที่สุด