นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 สิงหาคม 2564 ระบุว่า ครม.รับทราบความคืบหน้าการดำเนิน โครงการนำร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ อ่านความหมายย้อนหลังได้ที่ https://mekhanews.com/2021/08/19/the-factory-sandbox-project-is/
เบื้องต้น ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม มีสถานการประกอบการร่วมโครงการ โดยลงนามทำข้อตกลง (MOU) แล้วจำนวน 46 แห่ง และมีสถานพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง สามารถดูแลผู้ประกันตนได้จำนวน 9.2 หมื่นคน ในพื้นที่เป้าหมาย 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และชลบุรี
ระยะที่ 2 อยุธยา ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ
มุ่งเป้าไปยังกลุ่มสถานประกอบการ 4 ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่
1.ยานยนต์
2.ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์
3.อาหาร
4.อุปกรณ์การแพทย์
ขับเคลื่อนภายใต้ 4 หลักการสำคัญ ดังนี้
1.ตรวจดำเนินการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR แรงงานในสถานประกอบการทุกคน เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดำเนินการตรวจโดยชุดตรวจ ATK ทุกสัปดาห์
2.รักษาสถานประกอบการจัดให้มีสถานพยาบาลขึ้น ประกอบด้วย
– สถานแยกกักตัว (Factory Isolation: FAI) และ Hospitel สำหรับผู้ป่วยสีเขียว
– โรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยสีเหลือง
– ICU สำหรับผู้ป่วยสีแดง
3.ดูแลดำเนินฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ เข็มที่ 2 ให้แรงงาน โดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง คนท้อง และออกใบรับรอง “โรงงานสีฟ้า” เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน
4.ควบคุม ให้สถานประกอบการดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ(Bubble and Seal) และมาตรการด้านสาธารณสุข (DMHTT)
การดำเนินโครงการ Factory Sandbox นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหลายด้าน
1.รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตส่งออก ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 7 แสนล้านบาท
2.ป้องกันคลัสเตอร์โรงงานจากการติดเชื้อ สร้างสมดุลระหว่างมาตรการด้านสาธารณสุขและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้
3.สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
4.รักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตส่งออกได้กว่า 3 ล้านตำแหน่ง