พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีบทลงโทษ เพื่อปกป้องประชาชนจาก “มิจฉาชีพ หรือ ผู้ประสงค์ร้าย” กรณีมีการนำข้อมูลของประชาชน เช่น ข้อมูลเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ เป็นต้น ไปใช้ทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือหาผลประโยชน์แบบผิดกฎหมาย โดยมีโทษหลายด้าน ดังนี้
1.โทษทางแพ่ง จ่ายค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่ได้รับจริง และศาลสั่งลงโทษเพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมทดแทน
2.โทษทางปกครอง
2.1 ไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าขอข้อมูลเข้าถึงตามสิทธิ ฯลฯ ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท
2.2 เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท
2.3 เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
3.โทษทางอาญา
3.1 ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสีย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
3.2 เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท
3.3 ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. นี้ ห้ามนำไปเผยแพร่แก่ผู้อื่น (เว้นแต่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย) จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิด เป็นนิติบุคคล หากกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับผิดชอบ สั่งการหรือกระทำหรือละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำ จนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ต้องรับโทษในคดีอาญาด้วย
ที่มา : พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ประกาศฉบับเต็ม
อ่านเพิ่มเติม >> พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA คือ
อ่านเพิ่มเติม >> 10 ข้อควรรู้ กฎหมาย PDPA
อ่านเพิ่มเติม >> ถ่ายรูป ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่น จะผิด PDPA หรือไม่ ?
อ่านเพิ่มเติม >> ถ้านำคลิป รูปถ่าย ที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียล จะผิด PDPA หรือไม่ ?
อ่านเพิ่มเติม >> ติดกล้องวงจรปิด ไม่มีป้ายแจ้งเตือน ผิด PDPA หรือไม่ ?
อ่านเพิ่มเติม >> เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ต้องให้ความยินยอมทุกครั้ง ก่อนนำข้อมูลไปใช้ หรือไม่ ?