กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค พร้อมด้วยศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย ร่วมเปิดตัว Stand by you ในรูปแบบเว็บไซต์และไลน์โอเอ “ตรวจฟรี รู้เร็ว ช่วยทันเวลา” เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และการเข้าถึงบริการเกี่ยวกับเอชไอวี
แพทย์หญิงมณฑินี วสันติอุปโภคากร รองผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันพบว่าจากการคาดประมาณมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ปี 2564 จำนวนราว 520,00 คน และคาดประมาณว่าประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 6,500 คนต่อประชากรทั้งหมด (ที่มา : Spectrum-AEM ปรับปรุง 22 เมษายน 2565) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี จากเป้าหมายในการยุติปัญหาเอดส์ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีภายในปี 2573 จึงสนับสนุนให้ประเทศไทย โดยกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างกลยุทธ์การเข้าถึงเครือข่ายออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี และการดูแลรักษาในวัยรุ่นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเรื่องเพศสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการตรวจหาเอชไอวี โดยใช้สื่อสังคมสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาระบบให้บริการคลินิกวัยรุ่นบนระบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และระบบให้คำปรึกษาออนไลน์
เนื่องจากในปัจจุบันการเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นนั้นนอกจากการลงพื้นที่การประชาสัมพันธ์เชิงรุกแล้ว อีกหนึ่งช่องทางที่จะสามารถให้วัยรุ่นได้รับรู้และตระหนักมากขึ้น คือ เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ที่เริ่มเข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทางโครงการจึงได้มุ่งหวังว่ากลยุทธ์การเข้าถึงผ่านสื่อสังคมออนไลน์นี้ จะสามารถเสริมสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงบริการการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีต่างๆ รวมถึงการเข้าถึง ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง เพื่อป้องกันให้ลูกหลานของเราปลอดภัยจากจากการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตลอดจนผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
ด้านศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นการให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวี เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ออนไลน์ โดยผู้รับบริการสามารถแสกนคิวอาร์โค้ดไลน์โอเอ Stand by you เพื่อขอรับบริการ ได้แก่ ขอรับชุดตรวจหาเอชไอวีด้วยตนเอง ทำแบบประเมินหาความเสี่ยง ขอรับคำปรึกษาเรื่องเอชไอวี เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งบริการส่งชุดตรวจหาเชื้อเอชไอวีตรวจด้วยตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถตรวจหาเอชไอวีเองผ่านคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และวิดีโอสาธิตการใช้ชุดตรวจ ซึ่งมีความเป็นส่วนตัว และข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ พร้อมทั้งรับคำแนะนำหลังจากทราบผลตรวจ มีบริการให้คำปรึกษาจากหมอ ผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ไลน์โอเอ @stand by you หรือ เว็บไซต์ standbyyou.info
Dr. Sanny NorthBrook (Director of Division of Global HIV & TB (DGHT) Thailand & Laos, Thailand MOPH – U.S.CDC Collaboration) “Young people have limited access to human immunodeficiency virus (HIV) services including HIV testing, pre-exposure prophylaxis (PrEP) and other sexually transmitted infections (STI) information and treatment. Part of this may be due to the lack of available services, stigma and discrimination, particularly among young key populations who are at high risk of HIV infection. The adolescent men who have sex with men (AMSM) project will address known barriers by involving young people in program design and services, use of peer recruitment through social networks, develop innovative online reach through Autobot and online counseling via social media platforms, and offer HIV self-testing to address confidentiality and privacy concerns of young people. An innovative and friendly program such as AMSM is much needed to help Thailand stay ahead of the game and prevent new HIV infections in this population. CDC would like to thank Siriraj Hospital and the Ministry of Public Health for leading the work to address gaps in services for key young populations and for the opportunity to take part in this collaboration.”
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว นับเป็นช่องทางการเข้าถึงของเด็กวัยรุ่นไทย ที่จะได้รับคำปรึกษา เข้าถึง ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถได้รับยาป้องกันทั้งแบบฉุกเฉินและแบบป้องกันเอชไอวี หากมีความเสี่ยงในอนาคต นำไปสู่การตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาของเอชไอวี เอดส์ต่อไป