งานพิธีนวราตรีและงานแห่ประเพณีประจำปี 2565 หรือ งานนวราตรี 2565 ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) มีกำหนดการออกมาแล้วค่ะ อ่านเพิ่มเติม >> กำหนดการ งานนวราตรี 2565 ขบวนแห่พระแม่อุมาเทวี วัดแขก
ผู้นับถือตามคติของชาวทมิฬ วัดแขกสีลม หรือกลุ่มผู้บูชาทางใต้ จะบูชาพระทุรคา 9 ปาง 9 วัน ตามคติของลัทธินิกาย ซึ่งแต่ละปี ก็จะมีการอัญเชิญพระทุรคาในปางต่าง ๆ ลงมาประกอบพิธีบูชา อ่านเพิ่มเติม >> นวราตรี 9 ปาง มีอะไรบ้าง
นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้นับถือจะทำอีกอย่าง คือ การใส่สีเสื้อตามวันบูชา ซึ่งเป็นการแต่งตัวที่เอาใจพระแม่ และแต่งมาถวาย สวมใส่ให้บังเกิดความสิริมงคล และมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว มีค่า นิวส์ เลยพามาส่องสีเสื้อตามวันกันค่ะ เพื่อที่ทุกคนจะได้ใส่กันให้ถูกต้องก่อนไปร่วมพิธี มาส่องกันเลยค่ะ
คืนที่ 1 วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565
สีขาว มีความหมายเหมือนกับความบริสุทธิ์ และความไร้เดียงสา ใส่เพื่อรับพรจากพระแม่ทุรคาเทวี และสัมผัสถึงพรแห่งความสงบภายในใจ และพรแห่งการคุ้มครอง
คืนที่ 2 วันอังคาร ที่ 27 กันยายน 2565
สีแดง เป็นสัญลักษณ์ ของความมีเสน่ห์ และความรัก เป็นสีที่ท่าน Mata Rani Chunri โปรดปรานมากที่สุด ที่มอบถวายให้กับพระแม่ทุรคาเทวี สีนี้เติมพลังและความมีชีวิตชีวาให้กับบุคคลที่สวมใส่
คืนที่ 3 วันพุธ ที่ 28 กันยายน 2565
สี Royal Blue เป็นความสง่างามที่ไม่มีใครเทียบได้ เฉดสีฟ้าที่สดใส แสดงถึงความสมบูรณ์ และความสงบสุขให้แก่ผู้ที่สวมใส่มาบูชาพระแม่ทุรคา
คืนที่ 4 วันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน 2565
สีเหลือง เพลิดเพลินกับวันนวราตรีของผู้ศรัทธาในพระแม่ทุรคาเทวี ด้วยการมองโลกในแง่ดี และทำตัวเองให้มีความสุขที่สุด สีเหลืองจึงเป็นสีโทนอุ่นที่ทำให้คนดูร่าเริงตลอดวัน
คืนที่ 5 วันศุกร์ ที่ 30 กันยายน 2565
สีเขียว สัญลักษณ์ของธรรมชาติ และกระตุ้นความรู้สึกของการตื่นรู้ เป็นสีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความสงบสุข และความเงียบสงบ แสดงถึงการเริ่มต้นใหม่ในชีวิตที่ดีงามอีกด้วย
คืนที่ 6 วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565
สีเทา แสดงถึงอารมณ์ที่สมดุล และช่วยให้บุคคลติดดิน สร้างสไตล์ที่ละเอียดอ่อน ด้วยเฉดสีอันเดอร์โทนนี้ ผสมกับการใส่ร่วมกับสีต่าง ๆ ที่โดดเด่น
คืนที่ 7 วันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม 2565
สีส้ม มอบคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความอบอุ่น และความอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยพลังบวก และช่วยให้บุคคลนั้นร่าเริง แจ่มใส และเป็นสีที่เกี่ยวกับพลังงานของสุริยเทพด้วย
คืนที่ 8 วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2565
สีเขียวนกยูง Peacock Green บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และความเป็นตัวของตัวเอง โดดเด่นท่ามกลางฝูงชนแสดงถึงคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเห็นอกเห็นใจ และความสดใส
คืนที่ 9 วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2565
สีชมพู เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความมีเสน่หา รวมถึงความสามัคคี เป็นสีที่น่าดึงดูดใจทำให้บุคคลนั้นเข้าถึงได้ และเพิ่มเสน่ห์ให้กับบุคลิกภาพไปพร้อม ๆ กัน
คืนที่ 10 (งานแห่ประเพณี เนื่องในวันวิชัยทัสมิ) วันพุธ ที่ 5 ตุลาคม 2565
สีเขียวสดใส วันเฉลิมฉลองชัยชนะแด่พระแม่ทุรคาเทวี
ที่มา : เทวสถานศักติชนนี