สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนประชาชนชมปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน” ซึ่งเกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจร ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เมื่อปี 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า
**สำหรับปี 2565 สามารถสังเกตเห็นได้ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม 2565 ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวนายพราน คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง
แนะนำสถานที่ชม : ให้อยู่ในที่ห่างจากเมืองหรือบริเวณที่มืดสนิท เพื่อให้แสงรบกวนน้อยที่สุด
วิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด : นอนชมด้วยตาเปล่า ตามทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก
หมายเหตุ : หากฟ้าใสไร้ฝน สามารถชมความสวยงามของดาวตกโอไรออนิดส์ได้ทั่วประเทศ