สำหรับผู้ที่จะขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2567 จากภาษีเงินได้ 2566 จะมีกำหนดการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 พร้อมขอคืนเงินภาษีตั้งแต่วันนี้ **ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 ขณะที่การคำนวณภาษีแนะนำว่าให้โหลดแอพ RD Smart Tax หรือ iTax มาคำนวณจะง่ายที่สุด
ส่วนเงินที่เราได้รับในแต่ละเดือนแต่ละปี จะมีการแยกมาคิดอีกที โดยเงินที่ได้รับเป็นเงินประจำสำหรับพนักงานในแต่ละเดือนจะเรียกว่า “เงินได้” แต่การคิดเงินสำหรับมาคำนวณในการเสียภาษีจะเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ซึ่งทุกคนจะได้รับการลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายในแต่ละปีอยู่แล้วได้แก่
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- เงินสะสมกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท (ในกรณีที่ส่งเงินประกันสังคม)
คำนวณภาษี 2567 ยังไง
วิธีคิดแบบเบื้องต้นง่าย ๆ ว่าจำเป็นต้องเสียภาษีหรือไม่ ให้นำเงินที่ได้รับทั้งหมดทั้งปี ลบกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท ลบค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทและลบประกันสังคม 9,000 บาท (ตามสูตรเงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี − ค่าใช้จ่ายส่วนตัว – ค่าลดหย่อน – ประกันสังคม)
ยกตัวอย่างเช่น เงินได้ทั้งปีคือ 300,000 บาท ก็จะต้องนำไปหักลบดังนี้ 300,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 131,000 ก็จะเท่ากับเงินได้สุทธิ และนำเงินได้สุทธิที่คำนวณได้นี้มาเทียบกับตาราง (ด้านล่าง) ว่าถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าหากถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีให้นำ เงินได้สุทธิ (สูตรแบบขั้นบันได) X อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่ายนั่นเอง (ยังไม่รวมค่าลดหย่อนอื่นๆ)
1 – 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้น |
150,001 – 300,000 บาท | ร้อยละ 5 (5%) |
300,001 – 500,000 บาท | ร้อยละ 10 (10%) |
500,001 – 750,000 บาท | ร้อยละ 15 (15%) |
750,001 – 1,000,000 บาท | ร้อยละ 20 (20%) |
1,000,000 – 2,000,000 บาท | ร้อยละ 25 (25%) |
2,000,001 – 5,000,000 บาท | ร้อยละ 30 (30%) |
5,000,001 บาทขึ้นไป | ร้อยละ 35 (35%) |