เมื่อบุคคลเสียชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลนั้น จะตกทอดสู่ทายาท ไม่ว่าจะมี หรือไม่มีพินัยกรรม ก็ต้องมีผู้ที่จะทำการแบ่ง ซึ่งหากทายาทไปจัดการโอนย้ายด้วยตนเอง หน่วยงาน หรือสถาบันต่าง ๆ มักจะไม่จัดการโอนทรัพย์สินให้ เนื่องจากไม่แน่ใจว่ามีสิทธิในทรัพย์สินจริงหรือไม่ หากโอนไปแล้วทายาทผู้มีสิทธิตัวจริงมาเรียกร้องก็จะเกิดปัญหายุ่งยาก
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงาน หรือ สถาบันต่าง ๆ มักให้ทายาทไปขอศาลตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน จากนั้นจึงให้ผู้ที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนำคำสั่งศาล พร้อมใบรับรองแสดงว่าคดีถึงที่สุด มาทำการโอนทรัพย์สินของผู้ตายไปแบ่งปันให้กับทายาททุกคนผู้มีสิทธิ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้อง มี 16 ลำดับ อ่านเพิ่มเติม >> How To ยื่นขอจัดการมรดก ผ่าน ระบบ e-Filing
อ่านเพิ่มเติม >> ยื่นขอจัดการมรดกผ่าน e-Filing เพิ่ม 42 ศาล เริ่ม 3 ก.ค. 66 มีที่ไหนบ้าง ส่องเลย!
เอกสารที่ต้องนำมายื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก
1.สำเนาใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตายของผู้ตายและทายาททุกคนที่เสียชีวิตแล้ว
2.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายที่เจ้าหนาที่ประทับว่า “ตาย” แล้ว
3.สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและทายาททุกคนที่มีชีวิตอยู่
4.ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า ของสามีภรรยาของผู้ตาย
5.ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล กรณีเอกสารไม่ตรงกัน
6.สูติบัตรของบุตรกรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ
7.พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
8.หนังสือให้ความยินยอมของทายาทที่เซ็นยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่
9.บัญชีเครือญาติที่ถูกต้องตามความจริง
10.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องจัดการ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส. 3, สมุดเงินฝาก, ทะเบียนรถ ฯลฯ