นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ออกมายืนยันแล้วว่า เงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเริ่มใช้ได้ภายในวันที่ 1 ก.พ. 67 โดยช่องทางการจ่ายเงินที่จะนำมาใช้ คือ จะเป็นการใช้บล็อกเชน Blockchain (บล็อกเชน) แล้ว บล็อกเชน คือ อะไร ทำงานแบบไหน มีประโยชน์อย่างไร มีค่า นิวส์ สรุปมาให้
อ่านเพิ่มเติม >> เงินดิจิทัล 10,000 บาท คืออะไร ใครได้บ้าง ?
อ่านเพิ่มเติม >> เงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้วันไหน ต้องลงทะเบียนไหม ซื้ออะไรได้บ้าง ?
อ่านเพิ่มเติม >> เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใช้ยังไง แลกเป็นเงินสดได้ไหม ?
บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีเก็บข้อมูลกระจายศูนย์ (Decentralized) ที่ บันทึกธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer ทั้งหมด ผู้เข้าร่วมยืนยันธุรกรรมได้โดยไม่ต้องมีตัวกลาง ทำให้ทำธุรกรรมง่ายขึ้น ไม่ว่าจะโอนเงิน ยืนยันการซื้อขาย ลงมติ และจัดการปัญหาต่าง ๆ เทคโนโลยีประกอบด้วย 3 อย่าง ได้แก่ ข้อมูล, Hash และ Hash ของบล็อกก่อนหน้านี้ในเชน
แฮช หรือ Hash คือ รหัสความปลอดภัยที่ไม่ซ้ำกัน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลใหม่ เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยแฮชจะเก็บบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นใน บล็อกเชน เรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลาง แต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมาก
ทั้งนี้ บล็อกเชน เปรียบเหมือนสื่อกลางที่เอาไว้ใช้ดำเนินธุรกรรมทุกอย่างในโลก Cryptocurrency โดยเริ่มต้นจากการสร้างชุดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า (Block) แล้วส่งไปเรียงต่อกันเรื่อย ๆ ในลักษณะคล้ายโซ่คล้องกันเรียกว่า (Chain) ต่อมาข้อมูลจะได้รับการเข้ารหัสพร้อมระบุว่า ถูกจัดเก็บเมื่อใด หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไหม จากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายบล็อกเชนทุกเครื่อง
**ดังนั้น การใช้งาน เงินดิจิทัล 10,000 ที่ออกแบบโดยธนาคารกลางด้วยระบบ บล็อกเชน จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง จึงนับเป็นการพัฒนาสำคัญ ที่ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้สกุลเงินดิจิทัล
ขอบคุณข้อมูล คมชัดลึก