จากกรณีอุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมีพลิกคว่ำ ส่งผลให้มี กรดซัลฟิวริก จำนวน 30 ตันไหลลงสู่แม่น้ำคาน บริเวณแขวงหลวงพระบาง เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา และจะไหลลงลุ่มน้ำโขงในวันที่ 5 เมษายน ก่อนจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ช่วงวันที่ 8-10 เมษายน 2567 จนมีประกาศแจ้งเตือนให้จังหวัดที่ติดลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี งดประกอบกิจกรรมบริเวณแม่น้ำโขง มีค่า นิวส์ จึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ กรดซัลฟิวริก
กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid) หรือ กรดกำมะถัน เป็นของเหลวใสคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด จัดเป็นกรดแร่อย่างแรง ละลายในน้ำได้ดี เป็นเคมีภัณฑ์พื้นฐานที่มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนวัตถุเกือบทุกชนิด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่ออวัยวะสัมผัส มีพิษเฉียบพลันหากสูดดม
ข้อมูลยังบ่งชี้ว่า กรดซัลฟิวริก ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง สารละลายของกรดซัลฟิวริก ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังตาและเยื่อบุได้อย่างรุนแรงถ้าได้รับทางปาก เยื่อบุทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก คอหอย หลอดอาหาร ผู้ป่วยจะปวดอย่างรุนแรงและไม่สามารถกลืนอาหารได้ เซลล์เยื่อบุของอวัยวะที่สัมผัสกับกรดซัลฟิวริกจะตาย
ความเป็นพิษต่อร่างกายของ กรดซัลฟิวริก มีดังนี้
1.หากผิวหนังสัมผัสโดยตรง ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง
2.ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเกิดแผลพุพอง
3.ดวงตา การสัมผัสโดยตรงกับของเหลว ไอ หรือ หมอกควันของกรดซัลฟิวริก จะทำให้ดวงตาระคายเคือง พร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล กระจกตาเสียหาย และกรอกตาไปมาไม่ได้ ถ้าหากโดนดวงตามาก ๆ อาจทำให้เกิดการไหม้อย่างสาหัส จนถึงตาบอดได้ อ่านเพิ่มเติม >> รมว. ศุภมาส สั่งการด่วนให้ ทีม DSS วศ.อว. สนับสนุนเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ “แม่น้ำโขง” และน้ำประปา รวมถึงผลกระทบประชาชนหลังเกิดเหตุรถบรรทุกพลิกคว่ำที่ “หลวงพระบาง” ทำ “กรดซัลฟิวริก” กว่า 30 ตันรั่วไหลลงแม่น้ำ