จากกรณีที่มีการแชร์ข่าวในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับเด็กที่มีอาการไข้ต่ำ ๆ แต่ต่อมามีอาการชักเกร็งและหัวใจหยุดเต้นอย่างฉับพลัน ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลวินิจฉัยว่า น่าจะเกิดจาก ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือ เอนเทอโรไวรัส แนะผู้ปกครอง ไม่ต้องตื่นตระหนก เนื่องจากพบว่าในแต่ละปี มีเด็กที่เข้ารับการรักษา หรือเสียชีวิตด้วยภาวะแบบนี้น้อยมาก มีค่า นิวส์ จึงจะพามาทำความรู้จักกับเชื้อนี้กันค่ะ
เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus Diseases) ปัจจุบันมีอัตราการเสียชีวิตในเด็กที่สุขภาพแข็งแรงดีมาก่อนพบได้น้อยมาก ประมาณ 1 ต่อ 5 แสน ถึง 1 ในล้านราย ซึ่งเทียบได้กับโอกาสการเสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า โดยพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าเด็กโต เชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส โดยหลัก ๆ จะเป็นเชื้อกลุ่ม Enterovirus โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ 71 ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง หรือเชื้อ COVID-19
สาเหตุ : โดยทั่วไปเชื้อกลุ่มนี้ไม่ได้ติดต่อผ่านการหายใจ รับเชื้อจากในอากาศเข้าไปโดยตรง แต่มักติดต่อจากการสัมผัสผ่านละอองฝอย หรือการสัมผัสเชื้อจากพื้นผิว แล้วนำมือมาสัมผัสใบหน้า
อาการ : แม้ว่าโรคนี้ จะพบไม่บ่อย แต่ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ โดยเฉพาะเมื่อเด็กไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น ไม่เล่น ไม่รับประทานอาหาร ไม่สามารถนอนหลับพักได้ หรือมีอาการกระสับกระส่าย หรือผวากระตุกบ่อยผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ แต่หากเป็นอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก และเมื่อไข้ลงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ผู้ปกครองพิจารณาการให้วัคซีนเสริมป้องกันป้องกันการติดเชื้อเพื่อลดความเสี่ยงต่อสายพันธุ์ที่รุนแรงได้
การป้องกัน
1.หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
2.ใส่หน้ากากอนามัยในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ล้างมือบ่อย ๆ
ขอบคุณข้อมูล https://shorturl.asia/LbgrR