เว็ปไซต์ มีค่านิวส์ (mekhanew.com) ได้มอบข่าวสาร ให้กับทุกท่านโดยที่เรา มีนโยบายในการเก็บข้อมูล แค่เพียงพอที่จะสามารถให้บริการได้เท่านั้น จะไม่มีการสอบถามข้อมูลส่วนตัวใดๆเพิ่มเติม ข้อมูลที่เราใช้งานมีดังต่อไปนี้ อ่านเงื่อนไขการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    Facebook Twitter Instagram
    Facebook Twitter Instagram
    Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    • หน้าแรก
    • ข่าวมีค่า
    • ข่าวกีฬา
    • สิทธิของเรา
    • SME ทันข่าว
    • ข่าวสุขภาพ
    • ข่าวผู้สูงอายุ
    • หมวดหมู่เพิ่มเติม
      • ข่าวโควิดวันนี้
      • โซเชียลเทรนด์
      • รีวิวร้านอาหาร
      • เทคโนโลยี
      • How To
      • ถามหน่อย
      • ศัพท์จากข่าว
      • รายงานพิเศษ
    • About Us
    Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    Home»ข่าวมีค่า»สึนามิในไทย รวมให้ทุกข้อสงสัย แผ่นดินไหวประเทศเพื่อนบ้าน ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิดับ หาคำตอบได้ที่นี่!
    ข่าวมีค่า

    สึนามิในไทย รวมให้ทุกข้อสงสัย แผ่นดินไหวประเทศเพื่อนบ้าน ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิดับ หาคำตอบได้ที่นี่!

    Mekha NewsBy Mekha News6 กรกฎาคม 2022Updated:6 กรกฎาคม 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    สึนามิในไทย
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    เหตุแผ่นดินไหวในทะเล บริเวณหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ประมาณ 511 กิโลเมตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ยืนยันว่า ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย และไม่เกี่ยวข้องกับเหตุน้ำทะเลหนุนสูงที่จังหวัดภูเก็ต

    ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานในการแจ้งเตือนภัยกรณีแผ่นดินไหวในทะเล หากมีแผ่นดินไหวในขนาดตั้งแต่ 7.8 ที่ความลึกน้อยกว่า 100 กิโลเมตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะทำการแจ้งเตือนภัยสึนามิตามระเบียบปฏิบัติประจำ (Standard Operating Procedure : SOP) เพื่อแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็ว

    แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็ยังสร้างความกังวงใจให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ตว่า จะส่งผลกระทบให้จังหวัดหรือไม่ มีค่า นิวส์ จึงรวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับสึนามิในไทยมาไว้ที่นี่ เผื่อเป็นคลังข้อมูลให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

    1.สึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร

    สึนามิ (TSunami) เป็นคลื่นยักษ์ในทะเล มีสาเหตุจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนในลักษณะแนวดิ่ง การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเล และการเกิดดินถล่มในทะเล โดยการเกิดสึนามิของประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหวในทะเลตามรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทรอินเดีย

    2.พื้นที่เสี่ยงเกิดสึนามิในประเทศไทยมีที่ใดบ้าง

    พื้นที่เสี่ยงเกิดสึนามิในประเทศไทย จะเป็นพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน รวม 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง กระบี่ ตรัง พังงาภูเก็ต และสตูล ในพื้นที่ 27 อำเภอ 102 ตำบล รวมทั้งสิ้น 509 หมู่บ้าน/ชุมชน

    3.ระบบเฝ้าระวังสึนามิของประเทศไทยเป็นอย่างไร

    ในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสึนามิของไทย จะเป็นการติดตามข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังที่ถูกส่งไปยังหน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Oceanic and atmosphere administration : NOAA) เพื่อทำการประมวลผลด้วยแบบจำลอง และวิเคราะโดยผู้เชี่ยวขาญ เพื่อคาดการณ์และชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงภัย ที่จะได้รับผลกระทบ ความเร็วของคลื่น และระยะเวลาที่คาดว่าคลื่นจะกระทบฝั่ง เมื่อ NOAA แจ้งยืนยันข้อมูลมายัง ปภ.แล้ว จึงจะนำไปสู่การแจ้งเดือนภัยต่อไป

    ในการร่วมติดตามเฝ้าระวังสึนามิ ประเทศไทยเริ่มมีการติดตั้งหุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิตัวแรก โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2549 ในมหาสมุทรอินเดีย โดยติดตั้งห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางประบาณ 965 กม. ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ได้มีการติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิตัวที่สองในทะเลอันดามัน ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 340 กม. ปัจจุบันประเทศไทยจึงมีทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ จำนวน 2 ตัว เพื่อใช้ในการรับข้อมูลติดตามเฝ้าระวังการเกิดสึนามิ

    นอกจากนี้ ยังมีการติดตามเฝ้าระวังร่วมกับการติดตามข้อมูลระดับน้ำจากสถามีวัตระดับน้ำทะเลนานาชาลี (The Intergovernmental Oceanographic Commission 10C) จากประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และสถามีวัดระดับน้ำทะเลของประเทศไทยที่เกาะเบียงและเกาะราชาน้อยร่วมด้วย

    4.ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ทำงานอย่างไร

    ระบบตรวจวัดคลื่นสึนามิที่ประเทศไทยใช้เป็นระบบที่ออกแบบโดยหน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตามเฝ้าระวังการเกิดคลื่นสึนามิจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ทุ่นลอยบนผิวน้ำ (Surface Buoy) ติดตั้งแบบลอยอยู่บนผิวน้ำกลางมหาสมุทร และชุดอุปกรณ์วัดความต้นใต้ต้องทะเล (Bottom Pressure Recorder.BPR) ซึ่งเป็นแท่นติดตั้งที่บริเวณท้องมหาสมุทรลึกลงไปใต้น้ำประมาณ 2,500-3,600 เมตร เครื่องมือทั้ง 2 ส่วนจะทำงานรับสิ่งข้อมูลร่วมกันตลอดเวลา โดยชุดอุปกรณ์วัดความดันใต้ท้องทะเลจะทำหน้าที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความดันน้ำและนำข้อมูลที่ได้ส่งผ่านไปยังหุ่นลอยบนผิวน้ำ (Surface Buoy) และส่งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำผ่านสัญญาณตางเทียมไปยัง NOAA และหาก NOAA ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคลื่นสึนามิ ก็จะแจ้งเตือนมายังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ปภ. ทันที

    5.เรามีการแจ้งเตือนสึนามิไปยังพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างไร

    เมื่อ ศภช. ปภ.ได้รับข้อมูลการเกิดสึนามิที่แน่ชัดแล้ว จะทำการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมแจ้งเตือนไปยังหอเตือนภัยและอุปกรณ์เตือนภัยที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลนดามัน จำนวน 226 แห่ง รวมถึงส่งข้อความสิ้น (SMS) ไปยังหน่วยงานราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย เพื่อให้ทำการแจ้งเตือนและส่งข่าวสารไปยังประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมพร้อมรับมือและอพยพประชาชนตามแผนเผชิญเหตุ

    6.ทุ่นสีนามิไม่ทำงาน แล้วจะแจ้งเตือนได้อย่างไร

    กรณีทุ่นสึนามิของประเทศไทยหลุดออกจากตำแหน่งหรือไม่ส่งสัญญาณนั้น จะมีผลทำให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.)กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปภ. ไม่ใด้รับข้อมูลโดยตรงจากทุ่นสึนามิของไทย แต่ระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสึนามิของประเทศไทยยังคงดำเนินการได้ เนื่องจากการติดตามเฝ้าระวัง การเกิดสึนามิของประเทศไทยนั้นเป็นการใช้และประมวลข้อมูลจากหลายฐาน โดยข้อมูลจากทุ่นสึนามิของไทยเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลใช้ร่วมกับข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่

    1.หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA)

    2.ข้อมูลสถานีวัดระดับน้ำทะเลจากเว็บไซต์ของ The intergovernmental Oceanographic Commission : IOC เป็นต้น

    โดยเฉพาะข้อมูลระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำทะเลของประเทศอินเดีย และประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ยังใช้ข้อมูลจากการติดตามการเปลี่ยนเปลระดับน้ำทะเลบริเวณสถานีเกาะเบียง จังหวัดพังงา ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถามีเกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งข้อมูลทั้งหนดนี้ จะนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์กับแบบจำลองการเกิดสึนามิของประเทศไทยที่ได้ออกแบบไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสึนามิที่แสดงข้อมูลเชิงลึกถึงพื้นที่ ช่วงเวลาในการเกิดคลื่นสึนามิ และความเร็วของคลื่นที่จะเข้าสู่ฝั่ง

    7.ทำไมประเทศไทยต้องมีทุ่นตรวจวัดคลื่นสีนามิ

    การที่ประเทศต่าง ๆ  มีทุ่นตรวจวัดสึนามิเป็นการร่วนกันทำให้ประสิทธิภาพในด้านข้อมูลการติตตามและเฝ้าระวังสึนามิยากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในเครือข่ายของระบบตรวจวัดและแจ้งเตือนสึนามิของ NOAA นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการใช้ข้อมูลสึนามิร่วมกันกับ NOAA หน่วยงานระหว่างประเทศ และประเทศภาคีที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ทั้งบริเวณมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว ยังจะทำให้สามารถรับข้อมูลการเกิดคลื่นสึนามิได้พร้อม ๆ กับที่ข้อมูลถูกสั่งไปยัง NOAA ทำให้สามารถนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยเแบบจำลองของประเทศไทยไว้ในเวลาเดียวกัน

    8.ทุ่นสึนามิหลุด ทำอย่างไร

    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติเเห่งชาติ มีแผนดำเนินการบำรุงรักษาทุ่นตรวจวัดคลื่นสินามิต่อเนื่องเป็นประจำทุก 2 ปี ตามมาตรฐานการดูเเลบำรุงรักษาขององค์การรบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) โดยจะจัดเตรียมทุ่นสำรองไว้ 1 ชุด สำหรับการวางทดแทนทุ่นเดิม หรือกรณีฉุกเฉินที่ทุ่นในทะเลได้รับความเสียหาย

    ซึ่งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของไทยทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ ทุ่นตรวจวัดสึนามิในทะเลอันดามัน สถานี 23461 และทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรรอินเดีย สถานี 23401 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะครบรอบการบำรุงรักษาระบบปี พ.ศ.2565 ศภช. ปภ.จึงได้วางแผนดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2565 เนื่องจากการนำทุ่นตรวจวัดสึนามิไปติดตั้งทดแทนทุ่นชุดเดิม จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสภาพอากาศและสภาพพื้นน้ำทะเลที่เหมาะสมและมีความปลอดภัย

    ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

    Related

    featured กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทุ่นตรวจวัดคลื่นสินามิดับ ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิดับทำยังไง น้ำทะเลหนุนสูง จังหวัดภูเก็ต ประเทศอินเดีย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สึนามิในไทย หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ แผ่นดินไหวหมู่เกาะอันดามัน แผ่นดินไหวในทะเล
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Mekha News
    • Website

    Related Posts

    พายุมู่หลาน เสี่ยงระบาด โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู หมอแนะพื้นที่น้ำท่วมให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เน้นกินอาหาร สุก ร้อน สะอาด

    18 สิงหาคม 2022

    สุกี้ตี๋น้อย เปิดรับสมัครงานตำแหน่งใดบ้าง ?

    18 สิงหาคม 2022

    สมัครงานตี๋น้อย เปิดรับสมัครวันไหน สมัครได้ที่ไหน ?

    18 สิงหาคม 2022

    กรมวิทยาศาสตร์บริการ ศึกษาระบบปลูกและผลิตกัญชา-กัญชง เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบวิสาหกิจชุมชน จ.บุรีรัมย์

    18 สิงหาคม 2022
    Add A Comment

    Comments are closed.

    ข่าววันนี้
    • พายุมู่หลาน เสี่ยงระบาด โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู หมอแนะพื้นที่น้ำท่วมให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เน้นกินอาหาร สุก ร้อน สะอาด
    • สุกี้ตี๋น้อย เปิดรับสมัครงานตำแหน่งใดบ้าง ?
    • สมัครงานตี๋น้อย เปิดรับสมัครวันไหน สมัครได้ที่ไหน ?
    • กรมวิทยาศาสตร์บริการ ศึกษาระบบปลูกและผลิตกัญชา-กัญชง เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบวิสาหกิจชุมชน จ.บุรีรัมย์
    • ภาวะวูบหมดสติ หมอเตือนปล่อยไว้อาจเกิดอันตราย เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว การทรงตัวชั่วคราว
    • วาไรตี้โชว์ โน๊ต อุดม หมู่ 2 บัตรราคาเท่าไหร่ ?
    • วาไรตี้โชว์ โน๊ต อุดม หมู่ 2 แสดงวันไหน ?
    • ผู้ประกันตนติดโควิด พบแพทย์ผ่าน Telemedicine ได้แล้ว! พร้อมส่งยาฟรีให้ถึงบ้าน
    • มอเตอร์ไซค์ขึ้นทางด่วน ได้ไหม มีโทษยังไง ?
    • ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 คือ
    คลังเก็บ
    • สิงหาคม 2022
    • กรกฎาคม 2022
    • มิถุนายน 2022
    • พฤษภาคม 2022
    • เมษายน 2022
    • มีนาคม 2022
    • กุมภาพันธ์ 2022
    • มกราคม 2022
    • ธันวาคม 2021
    • พฤศจิกายน 2021
    • ตุลาคม 2021
    • กันยายน 2021
    • สิงหาคม 2021
    • กรกฎาคม 2021
    • มิถุนายน 2021
    • พฤษภาคม 2021
    • เมษายน 2021
    • มีนาคม 2021
    หมวดหมู่
    • How To
    • SME ทันข่าว
    • ข่าวกีฬา
    • ข่าวผู้สูงอายุ
    • ข่าวมีค่า
    • ข่าวสุขภาพ
    • ข่าวโควิดวันนี้
    • ถามหน่อย
    • รายงานพิเศษ
    • รีวิวร้านอาหาร
    • วาไรตี้
    • ศัพท์จากข่าว
    • สมัครงาน
    • สิทธิของเรา
    • เทคโนโลยี
    • โซเชียลเทรนด์
    • ไม่มีหมวดหมู่
    นิยาม
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    © 2022 Mekha News

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.