Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    Facebook Twitter Instagram
    Facebook Twitter Instagram
    Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    • หน้าแรก
    • ข่าวมีค่า
    • ข่าวโควิดวันนี้
    • สิทธิของเรา
    • SME ทันข่าว
    • ข่าวสุขภาพ
    • ข่าวผู้สูงอายุ
    • หมวดหมู่เพิ่มเติม
      • โซเชียลเทรนด์
      • รีวิวร้านอาหาร
      • เทคโนโลยี
      • How To
      • ถามหน่อย
      • ศัพท์จากข่าว
      • รายงานพิเศษ
    • About Us
    Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    Home»รายงานพิเศษ»รายงานพิเศษ : ไขคำตอบ! ใบอนุญาตขายเหล้า ออกง่าย ต่อสะดวก กลายเป็นจุดกำเนิดนักดื่มน้องใหม่ จริงหรือ ?
    รายงานพิเศษ

    รายงานพิเศษ : ไขคำตอบ! ใบอนุญาตขายเหล้า ออกง่าย ต่อสะดวก กลายเป็นจุดกำเนิดนักดื่มน้องใหม่ จริงหรือ ?

    Mekha NewsBy Mekha News20 กุมภาพันธ์ 2022Updated:20 กุมภาพันธ์ 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    รายงานพิเศษ : ไขคำตอบ! ใบอนุญาตขายเหล้า ออกง่าย ต่อสะดวก กลายเป็นจุดกำเนิดนักดื่มน้องใหม่ จริงหรือ ?
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    หากมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโฆษณาธุรกิจน้ำเมาในปัจจุบัน ที่เราอาจจะเห็นทิศทางพุ่งตรงไปยังกลุ่มวัยรุ่นไทยและกำลังกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของตลาดค้าสุราในบ้านเรามากขึ้น ซึ่งข้อมูลหนึ่งที่อาจเป็นปัจจัยของการลงทุนกับการส่งเสริมการตลาดของธุรกิจในครั้งนี้ น่าจะมาจากพฤติกรรมการดื่มสุราของวัยรุ่นไทย ที่เพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งด้านนักดื่มหน้าใหม่  หรือปริมาณการดื่มที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    มีค่า นิวส์ สืบค้นข้อมูลจากงานวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หรือ สวรส. พบว่า ประเทศไทยมีร้านขายเหล้า 1.2 แห่ง ทุก 1 ตร.กม. ใบอนุญาตจำหน่ายสุรากว่า 5 แสนใบ ส่งผลนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นชนิดพุ่งพรวด 1.09 เท่า! สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่สำรวจพฤติกรรมการสูบบุรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560 ฉายภาพตัวเลขของนักดื่มคนไทยในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า

    “มีผู้ดื่มสุรา หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ ประมาณ 16 ล้านคน หรือ คิดเป็น 28.5% กลุ่มคนที่ดื่มหนักที่สุด คือ 36% อยู่ในกลุ่มคนอายุ 20-24 ปี และอายุ 45-49 ปี และเมื่อเจาะลงมายังกลุ่มวัยรุ่น หรือ เยาวชน ที่มีอายุ 15-19 ปี มีอัตราดื่มอยูที่ 13.6%”

    จากตัวเลขดังกล่าว ความสำคัญของกลุ่มนี้ อยู่ที่มีอัตราการดื่มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผลของการดื่มสุรา และนักดื่มหน้าใหม่ ทำให้ขาดความยับยั้ง นำไปสู่การขาดความรับผิดชอบและนำปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งปัญหาสุขภาพ และปัญหาทางสังคม เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดมากในกลุ่มนักดื่มวัยรุ่น สู่การบาดเจ็บล้มตาย เป็นต้น องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดของอาเซียนและติดอันดับ 10 ของโลก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเร็ว และการดื่มสุรา

    ส่วนอีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้เห็นถึง “สาเหตุ” ของการดื่มสุราที่เพิ่มมากขึ้น จากการวิจัย “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของจุดจำหน่ายสุราและพฤติกรรมการบริโภคสุราในวัยรุ่นไทยปี พ.ศ. 2550-2560 โดยใช้ Spatiotemporal analysis”  ของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พบว่า มีสื่อโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือใน social media ที่เพิ่มความถี่ และวางเป้าหมายมาที่กลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น  ขณะเดียวกัน จำนวน  “ใบอนุญาตจำหน่ายสุรา” ในประเทศไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงการเข้าถึงสุราทำได้ง่ายขึ้นด้วย

    ผศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร นักวิจัยเครือข่าย สวรส.
    (ขอบคุณภาพจาก https://sites.google.com/a/psu.ac.th/fmpm/bukhlakr/xacary)

    ผศ.ดร.นพ.พลเทพ วิจิตรคุณากร นักวิจัยเครือข่าย สวรส. ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า การทำการตลาดของธุรกิจสุรา ปัจจุบันยังคงมุ่งมาที่กลุ่มวัยรุ่นที่เป็นเป้าหมายหลัก สามารถสังเกตกลยุทธ์การขายสุราได้จากสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ แต่แน่นอนว่า การเข้าถึงสุราของกลุ่มวัยรุ่น ยังคงต้องพาตัวเองเข้าซื้อสุราเอง หรือ ที่เรียกว่า การซื้อผ่านช่องทางกายภาพ หมายถึงการเดินเข้าไปร้านของชำ ร้านสะดวกซื้อ ผับ บาร์ เป็นต้น

    ด้านตัวชี้วัดสำคัญที่สนับสนุนความสะดวกในการเข้าถึง คือ “ความหนาแน่นของใบอนุญาตการจำหน่ายสุรา” โดยเป็นการวัดจำนวนใบอนุญาตเทียบกับจำนวนประชากรในพื้นที่ ทางทีมวิจัยจึงเดินหน้าการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อหาคำตอบว่าสัดส่วนการออกใบอนุญาตขายเหล้า สะท้อนได้ถึงความหนาแน่นของจุดขาย กับพฤติกรรมการดื่มเหล้าของวัยรุ่นไทย ที่จัดเก็บข้อมูลและทำวิจัยมาอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปี 2550-2560

    ผศ.ดร.นพ.พลเทพ อธิบายเพิ่มเติมว่า ผลวิจัยของทีมวิจัยชุดนี้ ทำให้เห็นว่า แม้การออกใบอนุญาตจำหน่ายสุรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 2 ปีล่าสุด โดยเพิ่มขึ้น 583,880 เป็น 588,962 ใบ หรือ เพิ่มขึ้น 5,082 ใบ แต่ด้วยตัวเลขของใบอนุญาตที่มีกว่าครึ่งล้านใบ จะมีความหนาแน่นที่สูงอย่างมาก

    เฉลี่ยแล้วจุดขายเหล้า 1 จุด จะรองรับกับประชากร 113 คน หรือ จะมีร้านขายเหล้าได้ 1.2 แห่งต่อทุก ๆ 1 ตารางกิโลเมตรของประเทศไทย ข้อมูลนี้สะท้อนได้ว่า คนไทยสามารถเข้าถึงสุราได้ง่ายมาก ที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ จุดจำหน่ายรอบสถานศึกษาก็ยังคงมีอยู่ และระยะที่ใกล้ที่สุดกับรั้วโรงเรียน คือ อยู่ที่ จ.นนทบุรี ที่มีระยะห่างเพียง 4.4 เมตรเท่านั้น

    ผศ.ดร.นพ.พลเทพ สะท้อนข้อมูลจากงานวิจัยอีกว่า ใบอนุญาตขายสุราเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อนักดื่ม ในปี 2554 ที่มีข้อมูล โดยเฉพาะกับนักดื่มเพศชายที่ พบว่า เมื่อความหนาแน่นของใบอนุญาตขายสุราสูงขึ้น มีผลทำให้อัตราการดื่มของหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 1.09 เท่า แต่กรณีนี้จะไม่พบในเพศหญิงที่เป็นนักดื่มหน้าใหม่

    สำหรับพฤติกรรมการดื่มถัดไป คือ นักดื่มประจำ พบว่า มีเพียงตัวแปรดัชนีความขัดสนที่ส่งผลต่อการดื่มประจำ โดยที่ระดับความหนาแน่นของใบอนุญาตไม่ส่งผลต่อการดื่ม แต่สำหรับพฤติกรรมการดื่มหนัก ปัจจัยเรื่องความหนาแน่นของใบอนุญาตขายสุรา จะมีผลต่อการดื่มหนักของเพศหญิง แต่ไม่พบในเพศชาย โดยในเพศหญิง เมื่อความหนาแน่นของใบอนุญาตสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อัตราการดื่มหนักเพิ่มขึ้น 1.23 เท่า

    ท้ายสุดในงานวิจัยจากทีมของ ผศ.ดร.นพ.พลเทพ ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย โดยให้เพิ่มความเข้มงวดของการขอและต่อใบอนุญาตจำหน่ายสุรา รวมถึงเพิ่มค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาต ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพของสุราที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ โดยปัจจุบันระบบการขอใบอนุญาตจำหน่าย และการต่อใบอนุญาต มีความสะดวกมาก และมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ส่งผลให้ใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ที่เป็นร้านค้าปลีกมีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่

    ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันหามาตรการลดจำนวนและความหนาแน่นของใบอนุญาตจำหน่ายสุรา และอาจกำหนดเป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่ภาครัฐ จะต้องดำเนินการร่วมกันอย่างจริงจัง รวมไปถึงเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการห้ามขายสุรา ให้กับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักแก่ผู้จำหน่ายสุรารายย่อย เนื่องจากเป็นช่องทางที่สำคัญในการเข้าถึงสุราของประชาชน โดยเฉพาะวัยรุ่น

    ทพ.จเร วิชาไทย ผู้จัดการวิจัย สวรส.
    (ขอบคุณภาพจากสำนักข่าวไทยแลนด์พลัส ออนไลน์)

    ด้าน ทพ.จเร วิชาไทย ผู้จัดการวิจัย สวรส. กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถใช้เป็นข้อมูลทางวิชาการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงกฎหมายควบคุมการออกใบอนุญาตจำหน่ายสุรา และการรณรงค์ในระดับพื้นที่

    นอกจากนี้ ในปัจจุบัน การต่อใบอนุญาตจำหน่ายสุรา สามารถต่อได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ขาดความรัดกุมในแง่การตรวจสอบการกระทำความผิดต่าง ๆ เช่น

    1. การขายสุราให้เด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ เป็นต้น

    2. ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถต่ออายุออนไลน์ได้

    เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงเกิดคำถามว่า ผู้ที่จะสามารถขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ต้องทำอย่างไร มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร มีค่า นิวส์ สรุปอ้างอิงข้อมูลจากกรมสรรพสามิต ระบุถึงผู้มีสิทธิยื่นขอใบอนุญาต (กรณีสุรา) ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

    1. ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขายสุราเว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

    2. สถานที่ขายสุราไม่เป็นสถานที่ดังนี้

    2.1  ที่ตั้งสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งบริเวณที่ต่อเนื่องและติดกับสถานที่ดังกล่าว (เฉพาะการขายสุราประเภทที่ 2)

    2.2  ที่ตั้งวัด มัสยิด วัดบาทหลวง หรือสถานที่ประกอบศาสนกิจในนิกายหรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง รวมทั้งบริเวณที่ต่อเนื่องและติดกับสถานที่ดังกล่าว (เฉพาะการขายสุราประเภทที่ 2)

    2.3 ที่ตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งบริเวณที่ต่อเนื่องและติดกับสถานที่ดังกล่าว (เฉพาะการขายสุราประเภทที่ 2)

    2.4  สถานที่ที่เคยเป็นสถานประกอบการขายสุราของผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่ได้พ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต (เฉพาะการขายสุราประเภทที่ 2)

    2.5 สถานประกอบการขายสุราของผู้ที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตและอยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต

    2.6 สถานที่ต้องห้ามขายสุราตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกฎหมายอื่น

    ดังนั้น ข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานวิจัยนี้ จึงมีความสำคัญมาก และชี้ให้เห็นว่า ผู้มีส่วนตัดสินใจในการออกกฎหมายเห็นว่ามีหลักฐานเชิงวิชาการที่แสดงถึงความหนาแน่นของจุดขาย ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมและผลกระทบจากการดื่มสุราในประเทศไทย โดยควรพิจารณาทบทวนกฎเกณฑ์การออกและต่อใบอนุญาตให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น เพื่อหยุดจุดเริ่มต้นหนึ่งของปัญหานี้อย่างยั่งยืน

    ข้อมูลอ้างอิง : https://www.hsri.or.th/media/news/detail/13635

    http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/health/SmokingDrinking/2017/Full%20Report.pdf

    https://www.excise.go.th/excise2017/SERVICE/LIQUOR-TOBACCO-PLAYING_CARD_LICENSE/index.htm

    featured กรมสรรพสามิต ความหนาแน่นของใบอนุญาตการจำหน่ายสุรา ค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาตสุรา ต่อใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ร้านขายเหล้า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ เครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ ใบอนุญาตขายเหล้า ใบอนุญาตจำหน่ายสุรา
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Mekha News
    • Website

    Related Posts

    ครม.ไฟเขียว! แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2566-2580 รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุกในทุกมิติ

    17 พฤษภาคม 2022

    อย. เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อโฆษณา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพียงแค่มีผลวิจัย แต่ต้องได้รับการอนุญาตจาก อย. ก่อน และต้องตรวจสอบได้

    17 พฤษภาคม 2022

    How To วิธีวัดความดัน ที่ถูกต้อง

    17 พฤษภาคม 2022

    กฟผ.ชวนเที่ยวงาน “เชียงใหม่ Light Up” ชมศาสนสถาน 7 แห่ง ยามค่ำคืน ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างประสิทธิภาพสูงบนถนนคนเดิน ท่าแพ 27–29 พ.ค. 65

    17 พฤษภาคม 2022
    Add A Comment

    Comments are closed.

    ข่าววันนี้
    • ครม.ไฟเขียว! แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2566-2580 รองรับสังคมสูงวัยเชิงรุกในทุกมิติ
    • อย. เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อโฆษณา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพียงแค่มีผลวิจัย แต่ต้องได้รับการอนุญาตจาก อย. ก่อน และต้องตรวจสอบได้
    • How To วิธีวัดความดัน ที่ถูกต้อง
    • กฟผ.ชวนเที่ยวงาน “เชียงใหม่ Light Up” ชมศาสนสถาน 7 แห่ง ยามค่ำคืน ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างประสิทธิภาพสูงบนถนนคนเดิน ท่าแพ 27–29 พ.ค. 65
    • 3 อ. 2 ส. คือ
    • How To จองสิทธิกระปุกออมสิน Collection พิเศษ ผ่าน GSB METAVERSE
    • ออมสินเมตาเวิร์ส คือ
    • ททท. ชวนสายมู สายสยอง เที่ยวงาน “เทศกาลขนหัวลุก” ครั้งแรกในไทย รวบรวมเรื่องราววัฒนธรรมไทยด้านความเชื่อ เข้าฟรี! 27-29 พ.ค. 65
    • ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ทุกราย จริงไหม ?
    • บริจาคเส้มผม ทำวิกให้ผู้ป่วยมะเร็ง ที่ไหน ?
    คลังเก็บ
    • พฤษภาคม 2022
    • เมษายน 2022
    • มีนาคม 2022
    • กุมภาพันธ์ 2022
    • มกราคม 2022
    • ธันวาคม 2021
    • พฤศจิกายน 2021
    • ตุลาคม 2021
    • กันยายน 2021
    • สิงหาคม 2021
    • กรกฎาคม 2021
    • มิถุนายน 2021
    • พฤษภาคม 2021
    • เมษายน 2021
    • มีนาคม 2021
    หมวดหมู่
    • How To
    • SME ทันข่าว
    • ข่าวผู้สูงอายุ
    • ข่าวมีค่า
    • ข่าวสุขภาพ
    • ข่าวโควิดวันนี้
    • ถามหน่อย
    • รายงานพิเศษ
    • รีวิวร้านอาหาร
    • วาไรตี้
    • ศัพท์จากข่าว
    • สมัครงาน
    • สิทธิของเรา
    • เทคโนโลยี
    • โซเชียลเทรนด์
    • ไม่มีหมวดหมู่
    นิยาม
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    © 2022 Mekha News

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.