เว็ปไซต์ มีค่านิวส์ (mekhanew.com) ได้มอบข่าวสาร ให้กับทุกท่านโดยที่เรา มีนโยบายในการเก็บข้อมูล แค่เพียงพอที่จะสามารถให้บริการได้เท่านั้น จะไม่มีการสอบถามข้อมูลส่วนตัวใดๆเพิ่มเติม ข้อมูลที่เราใช้งานมีดังต่อไปนี้ อ่านเงื่อนไขการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    Facebook Twitter Instagram
    Facebook Twitter Instagram
    Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    • หน้าแรก
    • ข่าวมีค่า
    • ข่าวโควิดวันนี้
    • สิทธิของเรา
    • SME ทันข่าว
    • ข่าวสุขภาพ
    • ข่าวผู้สูงอายุ
    • หมวดหมู่เพิ่มเติม
      • โซเชียลเทรนด์
      • รีวิวร้านอาหาร
      • เทคโนโลยี
      • How To
      • ถามหน่อย
      • ศัพท์จากข่าว
      • รายงานพิเศษ
    • About Us
    Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณMekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อรักษาสิทธิให้กับคุณ
    Home»สิทธิของเรา»ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ครม.ไฟเขียวแล้ว! เปิดทางคู่รักเพศเดียวกัน จดทะเบียน รับเลี้ยงลูกบุญธรรม จัดการมรดกได้ ยังไม่มีผลทันที ต้องผ่านสภาผู้แทนฯ ก่อน
    สิทธิของเรา

    ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ครม.ไฟเขียวแล้ว! เปิดทางคู่รักเพศเดียวกัน จดทะเบียน รับเลี้ยงลูกบุญธรรม จัดการมรดกได้ ยังไม่มีผลทันที ต้องผ่านสภาผู้แทนฯ ก่อน

    Mekha NewsBy Mekha News7 มิถุนายน 2022Updated:7 มิถุนายน 20221 ความเห็น1 Min Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    ผ่านแล้ว ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เพศเดียวกันจดทะเบียนได้!
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 มิถุนายน 2565 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

    ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นครอบคลุมทุกกลุ่มในทุกมิติเรียบร้อยแล้ว โดยกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ต้องการกฎหมายที่รับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว และผู้แทนกลุ่มศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ไม่ขัดข้องต่อกฎหมายดังกล่าว เพราะเข้าใจว่าประเทศไทย เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม

    ทั้งนี้ เพื่อเป็นกฎหมายที่รองรับความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมีความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรส สำหรับร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่กล่าวข้างต้น มีรายละเอียดมากมาย มีค่า นิวส์ สรุปมาให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

    1. ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. ฉบับนี้ ให้สิทธิและหน้าที่คู่ชีวิต เช่น

    1.1 หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน

    1.2 อำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา

    1.3 สิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน

    1.4 สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม

    1.5 สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

    1.6 สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย

    1.7 สิทธิจัดการศพ

    สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. อาทิ

    – คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้

    – กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้

    –  การจดทะเบียนคู่ชีวิต จะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย รวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามไม่ให้จดทะเบียนคู่ชีวิต เช่น ทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา เป็นต้น

    –  กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล และเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิตแล้วผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะ

    –  กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เช่น ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน

    –  คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป. วิ อาญา)

    –  ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน

    – การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต คู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่น คู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ประพฤติชั่ว ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี

    –  บุตรบุญธรรม เมื่อคู่ชีวิตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ. นี้ และ ป.พ.พ. แล้ว สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้

    –  เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยมรดก

    –  กำหนดให้นำบทบัญญัติในป.พ.พ.ว่าด้วยคู่สมรสครอบครัวและบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลมในบางกรณี

    2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้

    2.1 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี “คู่สมรส” หรือ “คู่ชีวิต” อยู่ไม่ได้

    2.2 กาหนดให้เหตุฟ้องหย่ารวมถึง กรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน “คู่ชีวิต”

    2.3 ให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต

    ทั้งนี้ สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการเป็นคู่ชีวิตในกฎหมายฉบับอื่น ๆ จะมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป ภายหลังจากร่าง พ.ร.บ.นี้ มีผลบังคับใช้ เช่น กรณีบำเหน็จ บำนาญของคู่ชีวิต รวมถึงกรณีอุ้มบุญ ยังไม่สามารถทำได้

    ขั้นตอนต่อไป จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในสมัยประชุมนี้ เพื่อประกบกับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม โดยใช้ร่างของรัฐบาลเป็นหลัก แต่จะประกาศใช้ทันรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ ยังไม่ยืนยัน

    Related

    featured กระทรวงยุติธรรม คู่ชีวิต จดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ร.บ.คู่ชีวิต ประกาศใช้ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ล่าสุด พร บ คู่ชีวิต 2565 ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สิทธิเท่าเทียมทางเพศ
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Email
    Mekha News
    • Website

    Related Posts

    How To สมัคร Easy Pass Plus

    1 กรกฎาคม 2022

    ติดโควิด-19 หลัง 1 ก.ค. 65 รักษาฟรีเหมือนเดิม สปสช. ยืนยันไม่ได้ลอยแพผู้ป่วย แม้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น

    1 กรกฎาคม 2022

    แห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี 2565 จัดวันไหน ?

    1 กรกฎาคม 2022

    ธนาคารออมสิน รับฝากสลากทั้งสลากออมสินพิเศษ และดิจิทัล ตามคำเรียกร้อง พร้อมลุ้นของรางวัลพิเศษ

    1 กรกฎาคม 2022
    View 1 Comment

    1 ความเห็น

    1. Pingback: จดทะเบียนคู่ชีวิต มีเงื่อนไขยังไง ? Mekha News (มีค่านิวส์) : เว็บไซต์ข่าว ที่จะนำเสนอข่าวสารเพื่อร

    ข่าววันนี้
    • How To สมัคร Easy Pass Plus
    • ติดโควิด-19 หลัง 1 ก.ค. 65 รักษาฟรีเหมือนเดิม สปสช. ยืนยันไม่ได้ลอยแพผู้ป่วย แม้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น
    • แห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี 2565 จัดวันไหน ?
    • ธนาคารออมสิน รับฝากสลากทั้งสลากออมสินพิเศษ และดิจิทัล ตามคำเรียกร้อง พร้อมลุ้นของรางวัลพิเศษ
    • กัญชาไทย นวดแผนไทย และอาหารไทย หวังผลักดันฟื้นเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศรอบนี้
    • เตรียมปล่อยเงินกู้ ปราศจากดอกเบี้ย จนถึง 15 กรกฎาคม นี้ ให้นายจ้าง เพื่อพัฒนาทักษะลูกจ้าง หวังช่วยเยียวยาสถานการณ์โควิด-19
    • กยศ. ลดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ กี่บาท ถึงวันไหน ?
    • เวียร์ ศุกลวัฒน์ อัพเดทสถานะหัวใจ พร้อมประกาศเตรียมแต่งงาน 17 กรกฎาคมนี้
    • ยา Evusheld คือ
    • มาตรการ 2 U คือ
    คลังเก็บ
    • กรกฎาคม 2022
    • มิถุนายน 2022
    • พฤษภาคม 2022
    • เมษายน 2022
    • มีนาคม 2022
    • กุมภาพันธ์ 2022
    • มกราคม 2022
    • ธันวาคม 2021
    • พฤศจิกายน 2021
    • ตุลาคม 2021
    • กันยายน 2021
    • สิงหาคม 2021
    • กรกฎาคม 2021
    • มิถุนายน 2021
    • พฤษภาคม 2021
    • เมษายน 2021
    • มีนาคม 2021
    หมวดหมู่
    • How To
    • SME ทันข่าว
    • ข่าวผู้สูงอายุ
    • ข่าวมีค่า
    • ข่าวสุขภาพ
    • ข่าวโควิดวันนี้
    • ถามหน่อย
    • รายงานพิเศษ
    • รีวิวร้านอาหาร
    • วาไรตี้
    • ศัพท์จากข่าว
    • สมัครงาน
    • สิทธิของเรา
    • เทคโนโลยี
    • โซเชียลเทรนด์
    • ไม่มีหมวดหมู่
    นิยาม
    • เข้าสู่ระบบ
    • เข้าฟีด
    • แสดงความเห็นฟีด
    • WordPress.org
    © 2022 Mekha News

    Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.