โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ และในทางการแพทย์แผนไทย มีการป้องกันและดูแลเพื่อลดภาวะที่อาจเกิดสมองเสื่อมโดยใช้สมุนไพร เช่น บัวบก พรมมิ ซึ่งมีรายงานการวิจัยออกมาสู่ตลาด และพืชสมุนไพรเหล่านี้ นอกจากหาง่าย เพาะปลูกได้ง่าย ยังมีศักยภาพทางการตลาดที่สามารถนำมาศึกษาวิจัย และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สร้างรายได้ด้วย มีค่า นิวส์ พามาทำรู้จักกันค่ะ
1.บัวบก หรือ ผักหนอก


ตามตำราการแพทย์แผนไทย ที่มีสรรพคุณรู้จักทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาการอ่อนเพลีย และแก้ช้ำใน แต่ก็มีรายงานการศึกษาวิจัยในส่วนของ สารสกัด บัวบก ที่สามารถเพิ่มความจำและทำให้ ผ่อนคลายได้ ดังนั้น จึงมีการแนะนำและส่งเสริมให้รับประทาน บัวบก เพื่อบำรุงร่างกายและเสริมประโยชน์ทางด้านสุขภาพ ด้วยการรับประทานเป็นอาหาร เช่น
- การทำเมนูยำใบบัวบก หรือ
- การนำใบบัวบกเป็นผักเคียงเมนูน้ำพริก น้ำใบบัวบก
- นอกจากนี้บัวบก ยังถูกนำไปผลิตเป็นยา และ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยในบัญชียาแห่งชาติด้านสมุนไพร ยาบัวบกจะถูกบรรจุ และ มีสรรพคุณในการใช้เพื่อแก้ไข้ แก้ร้อนใน
- การใช้ยาบัวบกไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ส่วนยาครีมบัวบกใช้สำหรับสมานแผล
2.สมุนไพรพรมมิ หรือ ผักมิ


เป็นสมุนไพรที่มีสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ เนื่องจาก ใน พรมมิ มีสารในกลุ่ม steroidal saponins ได้แก่ bacoside A และ bacoside B จากข้อมูลทางเภสัชวิทยา พบว่า พรมมิ มีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำและการเรียนรู้ ช่วยปกป้องเซลล์สมอง มีฤทธิ์ต้านความจำเสื่อม และ ลดความวิตกกังวลได้
ทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย ใช้เป็นสมุนไพรช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง ในด้านผลิตภัณฑ์ ยาพรมมิ เป็นส่วนประกอบของยาเขียวประทานพิษ ซึ่งเป็นหนึ่งในยาตำรับของตำราคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีบันทึกไว้ 3 ตำรับ คือ
- ยาเขียวมหาพรหม
- ยาเขียวน้อย
- ยาเขียวประทานพิษ
สรรพคุณ ใช้สำหรับลดไข้ แต่มีข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย ในการรับประทาน ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและพอดี ไม่รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยที่มี โรคประจำตัวควรเฝ้าระวัง และ อยู่ในการควบคุมของแพทย์ แพทย์แผนไทย และ เภสัชกรอย่างใกล้ชิด
สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรจะควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และ หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ ดูแลจิตใจให้เบิกบาน ไม่ซึมเศร้า หรือ วิตกกังวล ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ ควรงดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญต้องควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย หรือ การใช้ยาสมุนไพร ขอคำปรึกษาจากแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทั่วประเทศ หรือติดต่อโดยตรงที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หมายเลขโทรศัพท์ 02-149-5678 หรือ ช่องทางออนไลน์ที่เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/dtam.moph และ ไลน์แอด กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก Line @DTAM