นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เห็นชอบโครงการ สินเชื่อคืนถิ่น แรงงานไทย (อิสราเอล) และอนุมัติวงเงินงบฯ วงเงินรวม 1,200 ล้านบาท จากงบฯ ร่ายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการฯ นี้ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ มีค่า นิวส์ พามาส่องเงื่อนไข ช่องทางสมัครค่ะ
อ่านเพิ่มเติม >> แรงงานไทยอิสราเอล ยื่นคำร้องขอรับเงินค่าใช้จ่ายเดินทางกลับไทย ใช้เอกสารอะไร ติดต่อที่ไหน
1.วัตถุประสงค์
- เพื่อชำระหนี้กู้ยืมสำหรับการไปทำงานที่อิสราเอลและ
- เพื่อลงทุนประกอบอาชีพ (ข้อมูลจาก กรมการจัดหางาน ณ เดือน ก.ย. 2566 มีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในอิสราเอล 25,887 คน)
2.เงื่อนไข
- เป็นผู้ที่ไปทำงานที่อิสราเอล อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
- เมื่อรวมอายุผู้กู้ กับ ระยะเวลาที่ชำระเงินกู้แล้วต้อง ไม่เกิน 60 ปี (ประมาณ 12,000 ราย)
3.ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อ
- สินเชื่อวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท
- สินเชื่อต่อรายไม่เกิน 150,000 บาท
- ลูกค้ารับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี
- ระยะเวลาชำระเงินคืนงวดสูงสุดไม่เกิน 20 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 งวดแรก
4.ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อ ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 2566 ถึง 30 มิ.ย. 2567 หรือ จนกว่าจะครบวงเงินโครงการฯ
งบประมาณ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.ชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 400 ลบ. (2,000 ลบ. X ร้อยละ 20 x ร้อยละ 100) โดยแบ่งเป็น ธ.ออมสิน 200 ลบ. และ ธ.ก.ส. 200 ลบ.
2.ชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ของวงเงินสินเชื่ออนุมัติเป็นระยะเวลา 20 ปี รวมทั้งสิ้น 800 ลบ. (2,000 ลบ. X ร้อยละ 2 x 20 ปี) โดยแบ่งเป็น ธ.ออมสิน 400 ลบ. และ ธ.ก.ส. 400 ลบ.
ทั้งนี้ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. จะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบฯ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป