ประวัติ วิสาขบูชา หรือ ในบางประเทศเรียกว่า “พุทธชยันตี” (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา โดยเป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน คือ ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) หรือ เดือนเวสาขะ พระจันทร์เสวยวิสาขฤกษ์ นับว่าเป็น วันที่มีความสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่ก่อให้เกิดพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระธรรมและนำมาสั่งสอนแก่สรรพสัตว์ และพระสงฆ์สาวกผู้สืบพระศาสนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม >> ประวัติ พระราชินี สุทิดา
**วันวิสาขบูชา ปี 2566 ตรงกับ วันที่ 3 มิถุนายน 2566
ในวันนี้ พุทธศาสนิกชน ต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอัน ได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น
จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือ พระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ ก่อนที่จะมีการแสดง พระธรรมเทศนา ใน พระอุโบสถ เป็นอันเสร็จสิ้น
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ
1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้ามีกี่คน นั้น มีในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ