จากเหตุการณ์เครื่องบิน SQ321 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ ประสบเหตุ ตกหลุมอากาศ รุนแรง จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 หลายคนคงจะตระหนักถึงภัยของ หลุมอากาศ มากขึ้น และอยากทราบว่า คืออะไร และจะมีธีป้องกันยังไง มีค่า นิวส์ สรุปมาฝากทุกคนค่ะ
หลุมอากาศ (Turbulence) คือ บริเวณที่ความหนาแน่นของอากาศไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดแรงลมกระโชกแรงและอากาศปั่นป่วน เมื่อเครื่องบินบินผ่านบริเวณนี้ แรงยกจากปีกก็จะลดลงกระทันหัน ทำให้ตัวเครื่องตกลงไปเล็กน้อย โดยเป็นความรู้สึกแบบนั่งรถยนต์แล้วตกหลุม หรือพื้นที่ขรุขระ
ลักษณะของหลุมอากาศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ
1.หลุมอากาศแบบลูกคลื่น (Wave turbulence) เกิดจากกระแสลมที่เคลื่อนที่ขึ้นและลงเป็นลูกคลื่น หลุมอากาศประเภทนี้มักเกิดขึ้นที่ระดับความสูงสูง และอาจทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนเครื่องบินกำลังถูกเหวี่ยงขึ้นและลง
2.หลุมอากาศแบบปั่นป่วน (Rotating turbulence) เกิดจากกระแสลมที่เคลื่อนที่หมุนวน หลุมอากาศประเภทนี้มักเกิดขึ้นที่ระดับความสูงต่ำ และอาจทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนเครื่องบินกำลังถูกเหวี่ยงไปด้านข้าง
หลุมอากาศ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
1.การปะทะกันของอากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้นต่างกัน
2.ลมเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว
3.เครื่องบินลำอื่นที่บินอยู่ก่อนหน้า
4.พายุ
นักบินมีเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการหลีกเลี่ยง หลุมอากาศ เช่น เรดาร์ตรวจจับสภาพอากาศ และระบบเตือนภัยหลุมอากาศ อย่างไรก็ตาม หลุมอากาศขนาดเล็กบางแห่ง อาจไม่สามารถตรวจจับได้
วิธีป้องกันอาการบาดเจ็บจากการ ตกหลุมอากาศ
1.ผู้โดยสารควรรัดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาขณะอยู่บนเครื่องบิน
2.ควรนั่งในท่าที่มั่นคง
3.ผู้โดยสารควรหลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินไปรอบ ๆ เครื่องบิน ขณะที่เครื่องบินกำลังตกหลุมอากาศ
ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ postjung